วันอาทิตย์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่2

บันทึกอนุทินครั้งที่ 2
                                           บันทึกอนุทิน
   วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
                         อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
                          วัน/เดือน/ปี  26 สิงหาคม  2557     ครั้งที่ 2
                      เวลาเข้าสอน  08.00 น.    เวลาเรียน 08.30  น.
                                     เวลาเลิกเรียน   12.20 น.


เด็กปฐมวัย

รายวิชา การมีเป้าหมาย สิ่งที่กำลังจะเรียนรู้

-การตอกไข่ คือ การสัมผัส การสังเกต การสูดดม

-การเล่นในมุม คือ การเลียนแบบ เช่น การตำ เด็กได้เรียนรู้เรื่องเสียง

การปลูกพืช คือ เรียนรู้ขั้นตอนในการเพาะปลูกไม่ว่าจะเป็นการพรรณ ดิน รดน้ำ ให้ปุ๋ย

-การฝังลูกนิมิต คือ การเรียนรู้จากการสัมผัส การสังเกต ประสาทสัมผัสทั้งห้า  ตา  ดู  หูฟัง  ลิ้นชิมรส  กายสัมผัส  จมูกสูดดม


เครื่องมือในการเรียนรู้ระดับต่อไป

-คณิตศาสตร์
-ภาษา

ทำไมต้องให้เด็กเรียนรู้สิ่งเหล่านี้ที่อยู่รอบๆตัว

(1). เด็กสนใจ
(2). สิ่งที่อยู่ใกล้ตัว
(3).ผลกระทบกับตัวเด็ก



                 เด็กปฐมวัย VS การเรียนรู้วิทยาศาสตร์?


วิทยาศาสตร์เป็นยาขมสำหรับเด็กๆจริงหรือ?
=ไม่น่าจะเป็น เพราะเด็กอยากรู้อยากเห็น พัฒนาการจึงเป็นตัวบ่งบอกว่าเด็กสามารถทำอะไรบ้างในแต่ละช่วงอายุ

ถ้าเด็กๆเรียนรู้วิทยาศาตร์ตั้งแต่ชั้นอนุบาลยากเกินไปไหม?

=ไม่ยากเกินไป เพราะใช้เวลาในการทดลอง มาเป็นหลักในการเรียน

ควรจะให้เด็กๆอนุบาลเรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไร?
=การทดลองทำ การลงมือปฏิบัติ



วิทยาศาสตร์


          คือ ความพยายามของมนุษย์ที่เรียนรู้และทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัวและตัวตนของตนเอง
ความพยายามเช่นนี้ติดตัวของมนุษย์มาตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากธรรมชาติของเด็กที่มีความรู้ อยากเห็นช่างสังเกตและคอยชักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่พวกเขาเจอและบางครั้งที่เป็นคำถามที่ยากเกินกว่าที่ผู้ใหญ่จะให้คำตอบ

       "การเรียนรู้ "คือ การเปลี่ยนเแปลงพฤติกรรม มีทั้งทางบวกและลบ

"การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม" คือ การเอาตัวรอดให้อยู่ในสังคมได้


        การทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัวและตัวตนของตนเองโดยการสังเกตและคอยซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่พวกเขาเจอช่วยเชื่อมโยงเซลล์ของสมองของเด็กโดยเฉพาะเด็กเล็กๆเพราะส่งเสริมให้เด็กได้คิด เป็นการเตรียมเด็กให้สามารถเรียนรู้ได้มากขึ้นในวัยที่สูงขึ้น


ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

ทักษะการสังเกต    คือความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัส อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่าง เพื่อหาข้อมูลหรือรายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ โดยไม่เพิ่มความคิดเห็นส่วนตัวลงไป เห็นอย่างไร รู้สึกอย่างไร ได้ยินอย่างไร ได้กลิ่นอย่างไร หรือรสชาติเป็นอย่างไร ก็ตอบไปตามนั้น ประสาทสัมผัสทั้ง 5 

ทักษะการวัด  หมายถึงความสามารถในการเลือกและใช้เครื่องมือต่าง ๆ ทำการวัดหาปริมาณของสิ่งต่าง ๆ ออกมาเป็นตัวเลขที่แน่นอนได้อย่างเหมาะสมและถูกต้อง โดยมีหน่วยที่ใช้วัดกำกับ ตลอดจนสามารถอ่านค่าที่วัดได้ถูกต้องหรือใกล้เคียงกับความเป็นจริง ในการวัดจะต้องพิจารณาว่า
   1. จะวัดอะไร เช่น วัดความยาวเส้นรอบรูปของลูกบอล ชั่
   2. จะใช้เครื่องมืออะไรวัด เช่น ใช้เชือกและไม้บรรทัดวัดเส้นรอบรูปของลูกบอล 
   3. เหตุใดจึงใช้เครื่องมือนั้น เช่นทำไมจึงเลือกใช้เชือกและไม้บรรทัดวัดเส้นรอบรูปลูกบอล ่ 
   4. จะวัดอย่างไร

ทักษะการจำแนก  หมายถึงการจำแนกหรือการจัดจำพวกวัตถุหรือเหตุการณ์ ออกเป็นประเภทต่าง ๆ โดยมีเกณฑ์ในการจำแนกหรือจัดจำพวก เกณฑ์ที่ใช้อาจพิจารณาจากลักษณะที่เหมือนกัน แตกต่างกัน หรือสัมพันธ์กัน อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ 

ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา


    ความรู้เรื่องสเปส ( SPACE ) สเปส หมายถึง ที่ว่าง สเปสของวัตถุ หมายถึง ที่ว่างที่วัตถุครองอยู่ ถ้าจะให้เห็นภาพภาพพจน์ที่ชัดเจน ขอให้ลองนึกว่า ถ้าตัวเราลงไปแช่อยู่ในน้ำซึ่งอยู่ในถังจนมิดหัว แล้วนำไปแช่เย็นจนแข็ง ตัวเราก็จะถูกฝังอยู่ในก้อนน้ำแข็งนั้น หากเรามีความสามารถพิเศษหายตัวออกจากก้อนน้ำแข็งนั้นไป ที่ว่างที่อยู่ในก้อนน้ำแข็งนั้นก็คือ สเปสของตัวเรานั่นเอง



                                        สรุป

การทำ  My map ในท้ายคราบ





การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

-เป็นครูควรเปิดโอกาสทางการเรียนรู้ของเด็กโดยการให้ความสนใจกับคำถามและการค้นพบ
-การใช้คำถามเพื่อให้เด็กได้ฝึกคิด  กล้าแสดงความคิดเห็น
-ใช้เป็นแบบการเรียนการสอน เพื่อต่อยอดความคิด

ประเมินตนเอง

    แต่งกายเรียบร้อย มาถึงห้องเรียนก่อนเวลา  จดในสิ่งที่อาจารย์อธิบายเพื่อเก็บไว้ใช้ในการเรียนการสอนได้

ประเมินเพื่อนๆ

     เพื่อนๆน่ารักกันทุกคน แต่งกายเรียยบร้อย ดูดี สะอาด ตั้งใจเรียนกันทุกคน สามารถตอบคำถามอาจารย์ได้

ประเมินอาจารย์ผู้สอน
  
     อาจารย์แต่งกายเรียบร้อย ดูดี เหมาะในการเป็นครู ท่านสอน และอธิบายในรายวิชานี้อย่างละเอียด เพราะอยากให้นักศึกษา ได้คิดและนำไปใช้ได้จริง

สาระเพิ่มเติม

  เด็ก 2-6 ปี คือ การเกิดการเรียนรู้ใหม่

  

   
     





















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น