วันอาทิตย์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่3

บันทึกอนุทินครั้งที่3



 บันทึกอนุทิน
  วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

 อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์  จินตนา  สุขสำราญ 
   วัน/เดือน/ปี   2 กันยายน   2557     ครั้งที่ 3
    เวลาเข้าสอน  08.00 น.    เวลาเรียน 08.30  น.
           เวลาเลิกเรียน   12.20 น.

กิจกรรมภายในวันนี้

 ในตอนเช้า  เพื่อนๆออกไปนำเสนอบทความ

   1.วิทยาศาสตร์และการทดลอง
   2.ภารกิจตามหาใบไม้
   3.เรื่องไม่เล็กของเด็กชายหอบกับการสร้างวิทยาศาสตร์แบบบูรณาการ
   4.การแยกเมล็ด
   5.การทำกิจกรรม เป่าลูกโป่ง


คุณลักษณะตามวัยของเด็กอายุ 3-5 ปีที่
กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาปรฐมวัย พ.ศ. 2546 มีดังนี้

เด็กอายุ 3 ปี

-พัฒนาการด้านสติปัญญา

-สำรวจสิ่งต่างๆที่เหมือนกันและต่างกันได้

-บอกชื่อของตนเองได้

-ขอความช่วยเหลือเมื่อมีปัญหา

-สนทนาตอบโต้/เล่าเรื่องด้วยประโยคสั้นๆได้

-สนใจนิทานและเรื่องราวต่างๆ


เด็กอายุ4 ปี

-พัฒนาการด้านสติปัญญา

-จำแนกสิ่งต่างๆด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้าได้

-บอกชื่อและนามสกุลของตนเอง

-พยายามแก้ไขปัญหาด้วยตนเองหลังจากได้รับคำชี้แนะ

-สนทนาโต้ตอบ/เล่าเรื่องเป็นประโยคอย่างต่อเนื่อง


เด็กอายุ5ปี

-บอกความแตกต่างระหว่างเสียง รส รูปร่าง และหมวดหมู่สิ่งของได้

-บอกชื่อ นามสกุล และที่อยู่ของตนเองได้

-พยายามหาวิธีแก้ปัญหาด้วยตนเองได้

-สนทนาโต้ตอบอย่างเป็นเรื่องราวได้



ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย (อายุ3-5ปี)




                          




หลักการ/แนวคิดสู่การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก   
นักการศึกษา/หลักการ แนวคิด


 กีเซล (Gesell) เชื่อว่า
  พัฒนาการของเด็กเป็นไปอย่างมีแบบแผนและเป็นขั้นตอน เด็กควรพัฒนาไปตามธรรมชาติไม่ควรเร่งหรือบังคับ   การเรียนรู้ของเด็กเกิดขึ้นจากการ การเคลื่อนไหว การใช้ภาษา การปรับตัวเข้าสังคมกับบุคคลรอบข้าง
การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
 จัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
 ให้เด็กได้เล่นกลางแจ้ง
 จัดกิจกรรมสร้างสรรค์ ฝึกการใช้มือและ ประสาทสัมพันธ์มือกับตา
 จัดกิจกรรมให้เด็กได้ฟัง ได้พูดท่องคำคล้องจอง ร้องเพลง ฟังนิทาน
 จัดให้เด็กทำกิจกรรมเดี่ยวและกิจกรรมกลุ่ม

          ฟรอยด์ (Freud) เชื่อว่า           ประสบการณ์ในวัยเด็กส่งผลต่อบุคลิกภาพ ของคนเราเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ หากเด็กไม่ได้รับการตอบสนองอย่างเพียงพอ จะเกิดอาการชะงัก พฤติกรรมถดถอย คับข้องใจส่งผลต่อพัฒนาการของเด็ก
การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
•  ครูเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งการแสดงออก ท่าทีวาจา
  จัดกิจกรรมเป็นขั้นตอน จากง่ายไปหายาก
• จัดสิ่งแวดล้อมที่บ้านและโรงเรียนเพื่อส่งเสริมพัฒนาบุคลิกภาพของเด็ก
อีริคสัน (Erikson) เชื่อว่า

    ถ้าเด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เด็กพอใจ ถ้าเด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี ไม่พอใจจะมองโลกในแง่ร้าย ขาดความเชื่อมั่นในตนเองและไม่ไว้วางใจผู้อื่นประสบผลสำเร็จ เด็กจะมองโลกในแง่ดี 

มีความเชื่อมั่นและไว้วางใจผู้อื่น


การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
•  จัดกิจกรรมให้เด็กได้ประสบผลสำเร็จ พึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมของห้องเรียน เพื่อนครู

•  จัดบรรยากาศในห้องเรียน ให้เด็กมีโอกาสสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อสภาพแวดล้อม ครูและเพื่อน ๆ

เพียเจท์ (Piaget) เชื่อว่า    พัฒนาการทางด้านเชาว์ปัญญาของเด็กเกิดจากการที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมรอบ ๆ ตัวเด็ก มีการรับรู้จากสิ่งแวดล้อมใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นตลอดเวลา และมีการปรับขยายประสบการณ์เดิม ความคิดและความเข้าใจให้ขยายมากขึ้นพัฒนาการของเด็กปฐมวัย (0 – 6 ปี)
1ขั้นประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหววัย 0 – 2 ปี เด็กเรียนรู้ทุกอย่างทางประสาทสัมผัสทุกด้าน2. ขั้นความคิดก่อนปฏิบัติการวัย 2 – 6 ปี เริ่มเรียนภาษาพูดและภาษาท่าทางในการสื่อสารยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง คิดหาเหตุผลไม่ได้จัดหมวดหมู่ได้ตามเกณฑ์ของตนเอง

การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
• จัดกิจกรรมให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัส ทั้ง 5
  จัดให้เด็กฝึกฝนทักษะ การสังเกต การจำแนก เปรียบเทียบ
• จัดกิจกรรมให้เด็กมีโอกาสคิดหาเหตุผลเลือก และตัดสินใจสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง
• จัดให้เด็กได้เรียนรู้จากสิ่งใกล้ตัวไปสู่เรื่องไกลตัว และมีลักษณะที่เป็นรูปธรรม

   
ดิวอี้ (Dewey) เชื่อว่า
เด็กเรียนรู้โดยการกระทำ

การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
• จัดกิจกรรมให้เด็กได้ประสบผลสำเร็จพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมของห้องเรียนเพื่อน ครู

• จัดบรรยากาศในห้องเรียน ให้เด็กมีโอกาสสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อสภาพแวดล้อม ครูและเพื่อน ๆ

สกินเนอร์  (Skinner) เชื่อว่า
     ถ้าเด็กได้รับการชมเชย และประสบผลสำเร็จในการทำกิจกรรม เด็กสนใจที่ทำต่อไป  เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ไม่มีใครเหมือนใคร  

การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
• ให้แรงเสริม เช่น ชมเชย ชื่นชม เมื่อเด็กทำกิจกรรมประสบผลสำเร็จ 

 •  ไม่นำเด็กมาเปรียบเทียบแข่งขันกัน
 

ปสตาลอสซี่ (Pestalozzi) เชื่อว่า

     ความรักเป็นพื้นฐานสำคัญและจำเป็นต่อการพัฒนาเด็ก ทั้งด้านร่างกายและสติปัญญา เด็กแต่ละคนแตกต่างกัน ทั้งด้านความสนใจความต้องการ และระดับความสามารถในการเรียน เด็กไม่ควรถูกบังคับให้เรียนรู้ด้วยการท่องจำ
การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก   
• จัดกิจกรรมเตรียมความพร้อม ให้ความรักให้เวลา และให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์

ฟรอเบล (Froeble) เชื่อว่า

      ควรส่งเสริมพัฒนาการตามธรรมชาติของเด็กด้วยการกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์อย่างเสรี  การเล่นเป็นการทำงานและการเรียนรู้ของเด็ก

การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก              
 • จัดกิจกรรมเรียนรู้ผ่านการเล่นอย่างเสรี

                   สรุป my map ท้ายคราบเรียน

    ความรู้ที่ได้รับ

        



การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

-นำทฤษฎีมาปฏิบัติกับเด็กปฐมวัยได้ในการสอน
-จัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะให้กับเด็ก
-จัดกิจกรรมเป็นขั้นตอน จากง่ายไปหอ่านเพิ่มเติมายาก
-จัดบรรยากาศในห้องเรียน ให้เด็กมีโอกาสสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อสภาพแวดล้อม ครูและเพื่อน ๆ
-จัดกิจกรรมให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัส  ทั้ง 5
-ห้แรงเสริม เช่น ชมเชย ชื่นชม เมื่อเด็กทำกิจกรรมประสบผลสำเร็จ 
-ให้ความรักให้เวลา และให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์
-จัดกิจกรรมเรียนรู้ผ่านการเล่นอย่างเสรี

ประเมินตนเอง
    แต่งกายเรียบร้อย  เข้าห้องช้า ต้องรีบไปให้เร็วกว่านี้ ตั้งใจฟังอาจารย์สอน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันระหว่างอาจารย์ผู็สอนและนักศึกษา

ประเมินเพื่อนๆ
     เพื่อนแต่งกายเรียบร้อย เพื่อน 5  คนออกไปพูดบทความ ทุกคนตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังอาจารย์

ประเมินอาจารย์ผู้สอน
      อาจารย์แต่งกายเรียบร้อย อาจารย์ใช้คำถามมาถามนักศึกษา ในด้านความคิดต่างๆเพื่อให้นักศึกษา แสดงความคิดเห็น และแลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน

สาระเพิ่มเติม
บทความเรื่อง ทำอย่างไรให้ลูกสนใจวิทยาศาสตร์  
เขียนโดย  เชิญตะวัน สุววณพานิช

      วิทยาศาสตร์ เป็นวิชาหนึ่งที่ทำให้เด็กๆ ปวดหัวและเบื่อ แม้จะมี

ประโยชน์สำหรับเด็กๆ อย่างมากในอนาคต theAsianparent ได้ไป

ร่วมงานสัมมนาของกรุงเทพมหานคร ในหัวข้อ "ทำอย่างไรให้หนังสือ

แนววิทยาศาสตร์เป็นเรื่องน่าอ่านสำหรับเยาวชน" เรามีเคล็ดลับมา

ฝากทุกท่านในการทำให้ลูกรักและสนใจวิทยาศาสตร์ด้วยค่ะ ศึกษาเพิ่มเติม















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น