วันเสาร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 15

บันทึกอนุทินครั้งที่  15


          บันทึกอนุทิน
 วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

    อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์  จินตนา  สุขสำราญ 
     วัน/เดือน/ปี   25 พฤศจิกายน  2557  ครั้งที่ 15
     เวลาเข้าสอน  08.00 น.    เวลาเรียน 08.30  น.
           เวลาเลิกเรียน   12.20 น.

กิจกรรมภายในวันนี้


        วันนี้อาจารย์ให้ส่งของเล่นวิทยาศาสตร์และแยกออกเป็นกลุ่ม ๆมี 6 กลุ่ม
         1 กลุ่มแรงโน้มถ่วง 
         2.อากาศ 
         3.พลังของเสียง
         4.การทำมุม          
         5.น้ำ
         6.แสง
การนำเสนอโทรทัศน์ครู

       -ไฟฟ้าและพันธุ์พืช  อ่านเพิ่มเติม
       -การละลายของสาร  อ่านเพิ่มเติม
       -จุดประกายนักวิทยาศาสตร์น้อย  อ่านเพิ่มเติม
       -แรงเสียดทาน  อ่านเพิ่มเติม
      -สอนเด็กอย่างไรให้มีจิตวิทยาศาสตร์ อ่านเพิ่มเติม

การนำเสนอวิจัย
      -กระบวนการส่งเสริมการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยโดยใช้

 กิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ อ่านเพิ่มเติม

      -ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อ

ทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย อ่านเพิ่มเติม

      -การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการเรียนแบบต่อภาพ   อ่านเพิ่มเติม

สื่อของดิฉันคือ ว่าวกระดาษ

                                            

 กิจกรรมต่อมา คือ การทำน้ำหวานไอติม



1.เตรียมอุปกรณ์ในการทำ
       -น้ำหวาน
       -น้ำ
       -เกลือ
       -น้ำแข็ง
       -ยางรัดแกง
       -ถุงพลาสติก
       -กรวย
       -ที่ตัก



2.ผสมน้ำหวานกับน้ำในปริมาณที่พอดี


3.นำกรวยมาใส่ถุง

4.ตักน้ำหวานใส่ถุงในปริมาณครึ่งถุง


5.มัดถุงให้เรียบร้อย


6.นำมาวางไว้ในหม้อ



7.ใส่น้ำแข็งลงไปในหม้อ


8.ใส่เกลือลงไปในปริมาณครึ่งถุง


9.ปิดฝาหม้อและหมุนไป



10.พอสักพักน้ำหวานแข็งได้ที่



 การเปลี่ยนแปลง (change)
    จากของเหลวเป็นของแข็ง
          การที่เราจะทำให้น้ำหวานที่เราใส่ลงไปในถุงได้เราก็ต้องทำให้อุณหภูมิของน้ำที่อยู่ในถุงอยู่ที่จุดเยือกแข็งหรือต่ำกว่า ซึ่งในที่นี้ก็คือ 0 องศาเซลเซียส ดังนั้นน้ำที่อยู่ในหม้อก็ต้องเย็นพอที่จะทำให้น้ำในถุงแข็งได้ เพราะฉะนั้นน้ำที่อยู่ในหม้อก็ต้องมีอุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียสหรือต่ำกว่าเช่นกัน    การที่เราใส่เกลือเข้าไปทำให้น้ำแข็งในถังด้านล่างมีอุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียสได้โดยที่ไม่กลายเป็นน้ำแข็ง และนั่นก็เพียงพอที่จะทำให้เราสามารถที่จะเขย่าถังเพื่อส่งความเย็นเข้าไปสู่น้ำที่อยู่ให้หลอดให้แข็งกลายเป็นไอติมได้นั่นเอง

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
      การจัดกิจกรรมที่สามารถทำให้เด็กได้มีส่วนร่วมกับครูและเป็นสิ่งที่ไม่อยาก จนเกินไปในการทดลองทำ ควรเลือกสิ่งที่เด็กสนใจ  หาง่าย ประหยัด และทำได้ง่าย ในการทำกิจกรรมนี้เป็นการจัดที่สร้างเสริมการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เช่น การสังเกต  การชิม ดมกลิ่น สัมผัส  การฟังเสียง

ประเมินตนเอง 
       แต่งกายเรียบร้อย  ร่วมกิจกรรมกับเพื่อนได้ดีและให้ความร่วมมือได้ดี สนใจในกิจกรรมนี้มาก ประเมินเพื่อนๆ
       เพื่อน ให้ความร่วมมือกันดีและร่วมกันทำ ช่วยกันทำน้ำหวานไอติมภายในห้องได้เป็นอย่างดีทุกคนสนใจว่า น้ำหวานที่เป็นของเหลวจะเเข็งหรือไม่แข็ง
ประเมินอาจารย์
       อาจารย์ มีความมุ่งมั่นในการสอน โดยหากิจกรรมมาให้นักศึกษาไม่ทำน่าเบื่อเพราะมีกิจกรรมทำกันภายในห้องทำและ ให้คำแนะนำดีๆในการเรียนการสอน อาจารย์ทุ่มเทในการสอนโดยเตรียมอุปกรณ์มาให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติเป็นอย่างดี





 














วันเสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่14

บันทึกอนุทินครั้งที่  14


          บันทึกอนุทิน
 วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
  อาจารย์ผู้สอนอาจารย์  จินตนา  สุขสำราญ 
วัน/เดือน/ปี วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน 2557  ครั้งที่ 14
 เวลาเข้าสอน  13.20 น.   เวลาเรียน 13.30น.
 เวลาเลิกเรียน   16.00 น.

กิจกรรมภายในวันนี้ 

    อาจารย์แนะวิธีการสรุปงานวิจัยโดยการอ่านแล้วนำมาสรุปที่หัวข้อสำคัญหรือนิยามของงานวิจัยและโทรทัศน์ครูซึ่งมีการส่งเสริมอะไรแก้ไขด้วยวิธีใดมีขั้นตอนอย่างไรและวันนี้ทำกิจกรรม วาฟเฟิลแสนอร่อย

นิยามคือ?
1.การทดลอง
2.การสังเกต

โทรทัศน์
1.ส่งเสริมด้วยวิธีใด มีขั้นตอนอย่างไร
2.แก้ไขด้วยวิธีใด มีขั้นตอนอย่างไร

การนำเสนอโทรทัศน์ครู 

1น.ส.นิตยา ใยคง เรื่อง ของเล่นของใช้  ดูเพิ่มเติม


กิจกรรม วาฟเฟิลแสนอร่อย
แบ่งกลุ่มๆละ 10 คน

1.เตรียมอุปกรณ์ มีเครื่องทำวาฟเฟิล แป้งสำเร็จรูป  นมจืด ไข่ไก่  เนย ชีส แปรงทาเนย ถ้วย จาน ที่ตวง ที่ตีไข่  







                                                       





2. เทนมลงในแป้ง ในปริมาณนมครึ่งแก้วและน้ำ 1 ถ้วยเล็กตามด้วยไข่ไก่ 1 ฟองและชีสที่ตัดแล้วครึ่งหนึ่ง ตีให้เข้ากัน









                                      






3.ตักแป้งสำเร็จรูปที่ปรุงเสร็จแล้วใส่ถ้วยเล็กเพื่อจะนำไปอบ








4.ทาเนยทีเครื่องทำขนมวาฟเฟิลเพื่อไม่ให้ติดเครื่องทำขนม





5.เทแป้งลงในเครื่องทำขนม และปิดผาไว้สักพัก จากนั้นก็พลิกกลับให้ สุกทั้ง 2 ด้าน ก็จะได้วาฟเฟิลแสนอร่อย




วาฟเฟิลแสนอร่อย



การนำเสนอแผนการสอน

หน่วย สัปปะรด



หน่วย ดิน






การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
      การจัดกิจกรรมที่สามารถทำให้เด็กได้มีส่วนร่วมกับครูและเป็นสิ่งที่ไม่อยากจนเกินไปในการทดลองทำ ควรเลือกสิ่งที่เด็กสนใจ  หาง่าย ประหยัด และทำได้ง่าย

ประเมินตนเอง 
       แต่งกายเรียบร้อย  ร่วมกิจกรรมกับเพื่อนได้ดีและให้ความร่วมมือได้ดี และรับผิดชอบในการเขียนแผนได้

ประเมินเพื่อนๆ
       เพื่อนให้ความร่วมมือกันดีและร่วมกันทำ ช่วยกันทำขนมวาฟเฟิลภายในห้องได้เป็นอย่างดี และวันนี้เพื่อนอีก 2กลุ่มก็นำเสนอแผนการสอนโดยเพื่อนก็เตรียมตัวกันมาเป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์
       อาจารย์มีความมุ่งมั่นในการสอน โดยหากิจกรรมมาให้นักศึกษาไม่ทำน่าเบื่อเพราะมีกิจกรรมทำกันภายในห้องทำและให้คำแนะนำดีๆในการเรียนการสอน 

ข้อเสนอแนะ

     เรียนวันพุธที่ 19 พฤศจิกายน 2557 เพราะวันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน 2557 ติดโครงการครูปฐมวัยร่วมใจอนุรักษ์สืบทอดความเป็นไทย ในเวลา เช้าถึงเที่ยง จึงเรียนชดเชยในวันพุธ



วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่13

บันทึกอนุทินครั้งที่  13


          บันทึกอนุทิน
 วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

    อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์  จินตนา  สุขสำราญ 
        วัน/เดือน/ปี 11 พฤศจิกายน  2557  ครั้งที่ 13
     เวลาเข้าสอน  08.00 น.    เวลาเรียน 08.30  น.
           เวลาเลิกเรียน   12.20 น.

กิจกรรมภายในวันนี้ 

วันนี้นำเสนอแผนการสอนที่เหลือ ทุกๆกลุ่มและทำกิจกรรมไข่ทาโกยากิ เขียนหัวข้อ บทความ งานวิจัยและโทรทัศน์ครู

1.หน่วยสับปะรด


 2.หน่วยส้ม


3.หน่วยทุเรียน

 
4.หน่วยมด




  5.หน่วยดิน



 6.หน่วย น้ำ




       แต่ละกลุ่มนำเสนอดีและเนื้อหาสนุกและบางกลุ่มยังสอนไม่เต็มที่และไม่ถูกต้องตามแผนจึงได้รับคำแนะนำและปรับปรุงแก้ไขต่อไป

กิจกรรมต่อไป คือ ไข่ทาโกยากิ
   ในการทำไข่ทาโกยากิครั้งนี้เป็นกลุ่มของหน่วยไข่ที่นำเสนอและให้เพื่อนๆมีส่วนร่วมด้วยกัน

 ส่วนผสมในการทำ
1. ไข่ไก่
2.ข้าว
3.ซีอิ้วขาว
4.แครอท
5.ต้นหอม
6.ปูอัด

อุปกรณ์ในการทำ

1.เครื่องทำทาโกยากิ
2.กระดาษ
3.กรรไกร
4.ช้อน ซ้อม
5.ถ้วยเล็ก
6.มีดและเขียง

วิธีการทำ
   แบ่งกลุ่มนั่งกลุ่มละ 5 คน

โต๊ะที่ 1
    ตัดกระดาษเป็นวงกลมเพื่อเป็นที่รองถ้วยเล็ก


โต๊ะที่ 2
       หันผักที่เตรียมมาคือแครอท ต้นหอม และปูอัด


 โต๊ะที่3
         ตีไข่ใส่ในถ้วยเล็ก คนละ 1 ฟอง


โต๊ะที่ 4
        นำไข่ที่ตีมาเติมเครื่องปรุง คือ ข้าว ผักชี แครอทและ ซีอิ้วขาว
         

โต๊ะที่ 5
     นำไข่มาเท่ลงในเครื่องทำทาโกยากิและพลิกด้านให้มันเป็นลูกกลมๆ


     เพื่อนๆทุกคนต้องวนให้ครบทุกโต๊ะและทำทุกขั้นตอนที่เตียมไว้ทุกโต๊ะ

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
      การจัดกิจกรรมที่สามารถทำให้เด็กได้มีส่วนร่วมกับครูและเป็นสิ่งที่ไม่อยากจนเกินไปในการทดลองทำ ควรเลือกสิ่งที่เด็กสนใจ  หาง่าย ประหยัด และทำได้ง่าย

ประเมินตนเอง 
       ในการนำเสนอแผนทุเรียนไม่ได้เตรยมตัวมาทำให้ล่าช้าและมีข้อปรับปรุงแก้ไขเยอะมาก จึงทำห้เสียเวลาในการสอน และการทำไข่ทาโกยากิให้ความร่วมมือกับเพื่อนได้ดี

ประเมินเพื่อนๆ
       เพื่อนให้ความร่วมมือกันดีและร่วมกันชิมไข่ทาโกยากิที่ตนเองทำและร่วมกันสทนากันภายในห้อง

ประเมินอาจารย์
       อาจารย์มีความมุ่งมั่นในการสอน โดยหากิจกรรมมาให้นักศึกษาไม่ทำน่าเบื่อเพราะมีกิจกรรมทำกันภายในห้องทำและให้คำแนะนำดีๆในการเรียนการสอน 

ข้อเสนอแนะ
      เวลาล่วงเลยมา 13.00น. ปกติเลิกเรียนเวลา 12.20 น.เพราะติดตรงนักศึกษาสอนแผนช้าและไม่ถูกจึงมีการแก้ไขภายในคาบ

สรุปงานวิจัย 

ชื่อเรื่อง  ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับประสบการณ์จากการใช้ กิจกรรมมุ่งเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และการเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผน 

นิยาม 
    เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับประสบการณ์จาการใช้กิจกรรมมุ่งเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผน

การทดลอง

    นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2543 โรงเรียนเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 30 คน โดยมีเนื้อหาในแผนการจัดประสบการณ์ของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ จำนวน 6หน่วย คือ หน่วยสัตว์เลี้ยงแสนดี หน่วยกล้วยจ๋าน่ากินจัง หน่วยผลไม้ใครๆก็ชอบ หน่วยผักสดสะอาด หน่วยต้นไม้เพื่อนรัก และหน่วยไม้ดอกไม้ประดับ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ด้านทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการสื่อความหมาย ทักษะการลงความคิดเห็น  ทักษะการหามิติสัมพันธ์

การส่งเสริม

1.การวางแผนการจัดประสบการณ์ โดยเริ่มตั้งแต่ศึกษาความคิดรวบยอด จุดประสงค์ เนื้อหา การดำเนินกิจกรรมและการประเมินผล

2.ลักษณะการจัดประสบการณ์ โดยใช้กิจกรรมมุ่งเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผน โดยการเปิดโอกาสให้เด็กได้ทำกิจกรรมด้วยตนเอง โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 เช่น การพูด  ฟัง การสังเกตและปฏิบัติทดลอง



สรุปบทความ

        วิทยาศาสตร์  เป็นวิชาหนึ่งที่ทำให้เด็กๆ ปวดหัวและเบื่อ แม้จะมีประโยชน์สำหรับเด็กๆ อย่างมากในอนาคต theAsianparent ได้ไปร่วมงานสัมมนาของกรุงเทพมหานคร ในหัวข้อ "ทำอย่างไรให้หนังสือแนววิทยาศาสตร์เป็นเรื่องน่าอ่านสำหรับเยาวชน" เรามีเคล็ดลับมาฝากทุกท่านในการทำให้ลูกรักและสนใจวิทยาศาสตร์ด้วย


1. อ่านหนังสือการ์ตูนวิทยาศาสตร์
      หนังสือเรียนอาจดูน่าเบื่อสำหรับเด็ก ๆ แต่อย่ากังวลไปค่ะ เพราะในปัจจุบันมีหนังสือเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์มากมาย ที่เขียนให้ไม่น่าเบื่อ น่าติดตาม มีภาพประกอบสวยงาม แต่ละเรื่องสอดแทรกการทดลองที่น่าสนใจไว้ บางเล่มก็เป็นการ์ตูนภาพน่ารัก ๆ บางเล่มก็เป็นนิยายผจญภัย ยกตัวอย่างเช่น หนังสือการ์ตูนโดราเอมอนในชุดความรู้ จะมีเล่มที่มีการ์ตูนพร้อมอธิบายเรื่องจักรวาลไว้ด้วย หนังสือการ์ตูน เอาชีวิตจากโลกร้อน ที่ช่วยสอนเด็ก ๆ ให้ช่วยกันดูแลสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น หรือจะเป็นหนังสือหลักคณิตคิดเร็ว หรือหนังสือสารานุกรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กและเยาวชนด้วย

2. ทำการทดลองอย่างง่าย ๆ
     หากยังไม่ทราบจะทำการทดลองแบบใด หรือ ทำการทดลองแนวไหน ลองหาหนังสือการทดลองทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กมาเป็นแนวทางก็ได้ค่ะ ที่เราขอแนะนำ เช่น กล่องกิจกรรมทดลองชุดเจาะลึกเทคโนโลยีด้วยวิทยาศาสตร์ ที่ให้เด็ก ๆ ได้สนุกสนานไปกับการทดลองสารเรืองแสง หรือหนังสือชื่อ “ทำอย่างไรให้วัวกินหญ้าเป็นรูปครึ่งวงกลม” และ “เราก้าวทะลุโปสการ์ดได้อย่างไร” ที่ช่วยแนะนำการทดลองแบบง่าย ๆ ทำได้ที่บ้าน อย่าง การเรียนรู้เรื่องทรงเรขาคณิตจากการพับกระดาษ การพับปิระมิด การพับวงกลมสองวงให้กลายเป็นสี่เหลี่ยม หรือการสอนเด็ก ๆ เรื่องการคาดคะเนผ่านการทดลองตัดพิซซ่า และโดนัท 

3. พาเข้าพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แบบ interactive
    ในประเทศไทยมีพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แบบ interactive (พิพิธภัณฑ์เชิงปฏิสัมพันธ์) หรือพิพิธภัณฑ์ที่ให้ผู้ชมมีส่วนร่วมในการปฏิบัติหรือทดลอง เข้าร่วมในกิจกรรมของพิพิธภัณฑ์ด้วยด้วยได้ คือ จตุรัสวิทยาศาสตร์ เป็นสวนสนุกวิทยาศาสตร์หรือแหล่งเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์รู้ที่เน้นส่งเสริม ความรู้คู่ความบันเทิงให้กับเด็ก ๆ ตั้งอยู่ ณ ชั้น 4 และชั้น 5 อาคารจามจุรีสแควร์ ที่นี่เน้นการจัดนิทรรศการทางวิทยาศาสตร์ มีกิจกรรมต่าง ๆ ที่ออกแบบมาให้เข้ากับธรรมชาติของเด็ก โดยเฉพาะชิ้นงานวิทยาศาสตร์แบบ Interactive ที่เน้นการมีส่วนร่วมของผู้เข้าชม โดยเฉพาะเด็ก ๆ ให้สามารถทดลอง สัมผัส เรียนรู้ด้วยตัวเองด้วย นอกจากนี้ยังมีสนามเด็กเล่น Kid Play Ground ที่ช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ของเด็กวัย 3-8 ปี ด้วยการพัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์และช่วยปลูกฝังความสนใจด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ให้กับเด็กด้วย



สรุป โทรทัศน์ครู




            การสอนของครูกอบวิทย์ เป็นการกระตุ้นให้เด็กได้มีส่วนร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างเต็ม ที่ ครูกอบวิทย์สามารถสอนในสิ่งที่เป็นนามธรรมให้กลายเป็นรูปธรรมได้ โดยการแสดงบทบาทสมมติ และการจำลอง จากที่ครูกอบวิทย์สอนสอนนักเรียนจะรู้จักสถานะของสารแต่ไม่สามารถอธิบายได้ ว่าอนุภาคของสาร มีหน้าตาหรือลักษณะอย่างไร ครูกอบวิทย์จึงสอนโดยเปรียบกับนักเรียนแต่ละคนคืออนุภาคของสารแต่ละอนุภาค ในการสอนครูกอบวิทย์จะมีการอธิบายพร้อมให้นักเรียนได้ปฏิบัติ เมื่อสอนเสร็จก็จะมีการสรุปอย่างเป็นรูปธรรมอีกครั้งหนึ่งโดยการใช้สื่อเป็น รูปธรรม ทำให้นักเรียนเข้าใจได้ง่ายขึ้น และสุดท้ายครกอบวิทย์จะมีการประเมินผลโดยให้นักเรียนได้เขียนแสดงความรู้ของ ตัวเองออกมา หลักสำคัญที่ครูกอบวิทย์คำนึงถึงในการจัดการเรียนการสอนคือ จะทำอย่างไรที่จะจัดกระบวนการเรียนรู้ให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างสนุกสนาน ควบคู่ไปกับการฝึกทักษะและพัฒนากระบวนการคิดของนักเรียน









วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่12

บันทึกอนุทินครั้งที่  12


          บันทึกอนุทิน
 วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

    อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์  จินตนา  สุขสำราญ 
        วัน/เดือน/ปี   4 พฤศจิกายน  2557  ครั้งที่ 12
     เวลาเข้าสอน  08.00 น.    เวลาเรียน 08.30  น.
           เวลาเลิกเรียน   12.20 น.

กิจกรรมภายในวันนี้


        วันนี้อาจารย์ได้บอกวิธีการสอนแผนให้กับนักศึกษาเพื่อเป็น การวางแผนในการสอนที่ถูกต้องเพราะทุกหน่วยจะได้ออกมาสอน

การจัดเรียงแผนการสอน

1.กรอบมาตรฐาน
2.สาระที่ควรเรียนรู้
3.แนวคิด
4.เนื้อหา
5.ประสบการณ์สำคัญ
6.บูรณาการ
7.กิจกรรมหลัก
8.วัตถุประสงค์

                       กลุ่มที่นำเสนอ แผนการสอน
1.หน่วยวัฎจักรกบ



 2.หน่วยข้าว




3.หน่วยไข่





4.หน่วยกล้วย



       ในการนำเสนอในครั้งนี้ เพื่อนๆก็มีสื่อหรืออุปกรณ์มาสาธิต เช่น หน่วยไข่ ก็นำไข่ มาทอด หน่วยข้าวก็นำ ข้าวมาทำชูชิแสนอร่อย เป็นต้น
        แต่ละกลุ่มก็ได้เทคนิคและวิธีการที่จะนำไปสอนอย่างถูกวิธี และการแก้ไขปรับปรุงในการเขียนแผนต่อไป

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
        รู้วิธีการสอนและการเขียนแผนที่ถูกต้องการทำกิจกรรมที่น่าสนใจและให้เด็กมีส่วนร่วมจะทำให้เด็กเกิดความรู้และสนใจสิ่งที่เรียนมากขึ้น

ประเมินตนเอง
        
     วันนี้ไม่ได้มาเรียนแต่ก็จะพยายามศึกษาและตามงานที่ได้รับมอบหมายให้ทันตามเวลาเรียน

ประเมินเพื่อนๆ

    เพื่อนๆมีความตั้งใจและมุ่งมั่นในการสอนแต่บางทีก็อาจไม่ได้เตรียมตัวมาเลยทำให้การสอนออกมาไม่ดี 

ประเมินอาจารย์

      อาจารย์แต่งกายเรียบร้อย สุภาพและมุ่งเน้นการใช้คำถามและให้คำแนะนำในการแก้ไขแผนและข้อควรปรับปรุงบางส่วน