วันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

บันทึกอนุทินครั้งที่  5



 บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

    อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์  จินตนา  สุขสำราญ 
      วัน/เดือน/ปี    16 กันยายน   2557     ครั้งที่ 5
     เวลาเข้าสอน  08.00 น.  เวลาเรียน 08.30 น.
           เวลาเลิกเรียน   12.20 น.


กิจกรรมภายในวันนี้

ความลับของแสง
     
        นิทานให้มากว่าความสนุกสนาน นิทานกระตุ้นให้เด็กเกิดจินตนาการ นิทานช่วยฝึกทักษะด้านภาษา
(Scholay) อาณาจักรสกอร์ลาร์ อาณาจักรแห่งการเรียนรู้ของเด็กๆ สนุกสนานไปกับการเรียนรู้นิทานและเพลง เพื่อเสริมสร้างนิสัยเด็กเก่งและเด็กดี


       รอบตัวเรามีเรื่องน่ารู้ มากมายหลากหลาย การเรียนวิทย์ต้องมีการคิดการค้าน เหตุและผลจากการทดลอง หาคำตอบ สรุปได้เข้าใจ ฝนตกฟ้าร้อง ฟ้าผ่า พายุหนักถ้าไฟดับก็แย่ เพราะมองไม่เห็น แล้วก็ไม่มีแสงส่วาง แสงเป็นคลื่นชนิด1เหมือนกับคลื่นน้ำในทะเล นอกจากนั้นแสยังเคลื่อนที่ได้เร็วมาก ตั้ง 300,000กิโลเมตร/วินาที ถ้าวิ่งได้เร็วจะวิ่งได้7รอบ ภายใน1นาที

   แสงไฟเกี่ยวข้องอย่างไรของการมองเห็น

  การทดลอง

       เอากล่องใบใหญ่ที่มีฝาปิด เจาะรูข้างๆกล่อง1รู เ้อาของต่างๆมาไว้ในกล่อง เช่น  ตุ๊กตา แล้วก็เปิดฝา กล่อง แล้วมองเข้าไป มืดสนิทเลย พอเปิดฝากล่องออก เห็นทุกอย่างเลยที่เราสามารถมองเห็นวัตถุต่างๆได้เพราะแสงส่องลงโดนวัตถุแสงสะท้อนจากวัตถุนั้นเข้ามายังตาของเราเราถึงจะมองเห็นซึ่งเท่ากับว่าตาของเราก็คือจอสำหรับรับแสงที่สะท้อนเข้ามาจากวัตถุ

         นอกจากมีแสงไฟแล้วก็ยังมีแสงจากดวงอาทิตย์ แล้วนอกจากแสงสว่างจะช่วยให้เรามองเห็นสิ่งต่างๆได้แล้วนะมนุษย์ยังนัวแสงมาใช้ประโยชน์อื่นๆอีกมากมาย
คุณสมบัติหลักๆ
แสงที่เดินทางมาหาเราจะเดินมาเป็นลักษณะยังไง การเคลื่อนที่ของแสง (ทดลอง) นำเอากระดาษแข็งสีดำที่มีขนาดเท่ากันมา 2 แผ่น เจาะรูตรงกลางให้ตรงกัน จากนั้นเราก็จะมาทดลอง คือ
                     
ขั้นที่1 การเปิดไฟในห้องมืด จากนั้นนำกระดาษแข็งแผ่นแรกมาวางขั้นหลอดไฟกับผนังห้อง
= แสงไม่สามารถทะลุผ่านกระดาษออกมาได้ นอกจากตรวจที่เตาะรูไว้ที่มีแสงพุ่งออกมา

ขั้นที่2 นำเอากระดาษอีกแผ่นมาวางซ้อนไว้ข้างหน้ากระดาษแผ่นแรก โดยให้รูที่เจาะอยู่ตรงกัน
= จะเห็นว่าแสงก็ยังพุ่งผ่านกระดาษที่เราเจาะรูไว้ไปยังที่ผนังตำแหน่งเดิม

ขั้นที่3 เราลองขยับเลื่อกระดาษออกไปให้รูที่เจาะไม่ตรงกัน
= แสงจะหยุดที่หระดาษแผ่นที่2 ไม่เปลี่ยนทิศทางไปหารูที่เจาะเอาไว้

ดังนั้น การเดินทางของแสงเป็นเส้นตรง
            
             วัตถุบนโลกเรานี้ เมื่อมีแสงมากระทบแล้วจะมีคุณสมบัติต่างกัน3แบบ 2แบบแรกจะมีคุณสมบัติที่คล้ายกัน ก็คือ แสงจะทะลุผ่านไปได้  และแสงบางส่วน เรียกว่า วัตถุโปร่งแสง และ วัตถุโปร่งใส ส่วนวัตถุอีกแบบจะดูดกลืนแสงบางส่วนไว้ แล้วก็จะสะท้อนแสงที่เหลือเข้าตาเรา เราเรียกว่า วัตถุทึบแสง ซึ่งเป็นวุตถุส่วนใหญ่ที่อยู่บนโลก ได้แก่ ไม้ หิน และ ตัวของเรา
            
            วัตถุโปร่งแสง คือ แสงที่ทะบุผ่่านได้แค่บางส่วนมองเห็นภาพไม่ชัด
            วัตถุโปร่งใส คือ แสงที่ทะลุผ่านไปได้ทั้งหมด 

กล่องรูเข้ม 
            
            ทำไมภาพที่เกิดขึ้นถึงกลับหัว เพราะแสงเดินเป็นเส้นตรงผ่านรูเล็กๆอย่างรูกระป๋อง แสงส่วนบนวิ่งเป็นเส้นตรงผ่านรูเล็กๆมาตรงกระทบที่ด้านล่างกระดาาไข แสงส่วนข้างล่างของภาพวิ่งผ่านรูเล็กมาตกกระทบที่ด้านบนของกระดาษไข  จึงทำให้ภาพกลับหัว ดวงตาของเราก็มีรูเล็กๆ เรียกว่า รูรับแสง ภาพที่ผ่านรูรับแสงก็เป็นภาพกลับหัวเหมือนกัน หลักการนี้จึงนำมาทำกล้องถ่ายรูป

การทดลอง   มีไฟฉายกับกระจกเงา 

         วางกระจกไว้บนพื้นแล้วฉายไฟฉายลงไปตรงๆของกระจกเงา แสงก็จะสะท้อนกลับมาตรงๆ ลองเปลี่ยนแนวของแสงคือ การเฉียง  แสงที่จะสะท้อนก็เฉียงไปด้านตรงข้าม กับแสงที่เราส่องลงไปด้วย คราวนี้ลองเฉียงมากๆ แสงสะท้อนไปตรงกันข้ามมากขึ้น  แสดงว่าเมื่อแสงสะท้อนไปจากวัตถุต้องถูกไปยังทิศทางตรงกันข้ามกับทิศทางของแสงที่ส่องลงมาตลอดเพราะลำแสงที่สัมผัสกับพื้นผิววัตถุแล้วสะท้อนกลับนั้นจะเป็นมุมที่เท่ากันกับลำแสงที่ส่องลงมาเสมอ การส่องกระจกคือการสะท้อนของแสงอีกเช่นกัน

          กล้องคาไลโดสโคป (Kaleidoscope) อุปกรณ์ คือ กระจกเงา3บานมาประกบกันให้เป็นกระบอกทรง3เหลี่ยม แล้วเห็นภาพที่เยอะแยะ ภาพที่ส่องจากกล้องคาไลโดสโคป เกิดขึ้นเยอะแยะเพราะใช้หลักการสะท้อนของแสงและมุมประกบของกระจก เมื่อแสงตกกระทบในกระบอกทรง3 เหลี่ยม มันก็จะสะท้อนไปสะท้อนมาจึงทำให้เกิดภาพมากมาย

          การประดิษฐ์อุปกรณ์ กล้องส่องภาพระดับเหนือสายตา หรือกล่องเฮรี่สโคป อุปกรณ์กล่องสูงๆยาวและกระจกเงาเล็กๆ2แผ่น เริ่มต้นเจาะช่องข้างกล่อง2ช่อง แล้วให้ทั้งสองช่องนั้น อยู่ยนกล่องด้านตรงกันข้าม โดยช่องแรกให้เจาะติดกันกับขอบด้านล่างและอีกช่องเจาะติดกับกล่องด้านบน แล้วนำกระจกมาติดไว้ให้แน่น บานแรกติดกระจกหงายด้านขึ้น เฉียงทำมุม45 องศา กับพื้นกล่องด้านล่าง แล้วหันหน้าไปทางช่องที่เจาะ ส่วนอีกบานก็จะติดกับฝากล่องด้านบนทำมุม 45 องศา  แล้วให้ไปทางช่องที่เราเจาะไว้เช่นกัน จากนั้นเราก็เอาไปส่องวัตถุที่อยู่สูงๆ ก็สามารถเห็นวัตถุนั้นได้ผ่านกระจกเงา                          
         หลักการหักเหของแสง (Refraction of lightคือ แสงจะเปลี่ยนทิศทางในการเคลื่อนที่เพราะแสงเดินทางผ่านวัตถุหรือตัวกลางคนละขนิดกันเช่น เมื่อแสงเดินทางผ่านอากาศ เข้าสู่ตู้กระจกที่มีน้ำ น้ำจะมีความหนาแน่นกว่าอากาศ ทำให้แสงเคลื่อนที่ไปได้ช้ากว่าในอากาศ เส้นทางเดินของแสงก็หักเหไปด้วย ลักษณะของการหักเหของแสง จะหักเหเข้ากับแนวที่ตั้งฉากกับผิวน้ำที่เรียกว่า   เส้นปกติ 
       การทดลอง  เราจะมาอ่านหนังสือผ่านแก้วที่มีน้ำก่อนที่จะอ่านต้องมีอุปกรณ์ คือ แก้วน้ำใบใหญ่เติมน้ำลงไปให้เต็ม จากนั้นเราก็นำข้อความที่เราจะอ่านไว้ข้างแก้วน้ำ จะเห็นได้ว่าตัวหนังสือใหญ่ขึ้น ที่ตัวหนังสือใหญ่ขึ้นเพราะ การหักเหของแสงแก้วผิวโค้งที่ใส่น้ำเอาไว้จะทำให้แสงผ่านเข้าไปข้างใน เกิดหารหักเหและกระจายออกทำให้ตัวหนังสือใหญ่ สามารถนำมาทำเลนส์ต่างๆได้ เลนส์ที่ว่าก็คือ แผ่นแก้วหรือแผ่นกระจก ที่ถูกทำให้ผิวหน้าโค้งนูนออกมา เช่น แว่นขยาย เป็นต้น 

      รุ้งกินน้ำ (Rainbow)    รุ้งกินน้ำก็เกิดจากการหักเหของแสง ปกติแสงขาวๆที่เรามองเห็น ประกอบไปด้วย7สี คือ สี ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง  แม่สีทั้ง7เหมือนรวมกันเป็นสีขาว หลังฝนตกเสร็จใหม่ๆ ก็จะมีละอองน้ำ ในอากาศแล้วเมื่อแสงผ่านละอองน้ำเหล่านั้นก็จะเกิดการหักเหแล้วปกตินั้น สีปกติของแสงจะมีการเคลื่อนที่ไม่เท่ากัน เมื่อมันส่องผ่านละอองน้ำจำนวนมากในอากาศ จึงเกิดการหักเห ผลที่ตามมาก็คือ แสงขาวๆนั้นจะแยกตัวเป็น สีเดิมทั้ง7สี ที่เรียกว่า แถบสเปกตรัม ( spectrm) เราเรียกว่า รุ้งกินน้ำ รุ้งกินน้ำจะเกิดในทิศทางตรงกันข้ามกับดวงอาทิตย์ ในเวลาหลังฝนตกใหม่ๆ วัตถุในโลกต่างก็มีสีของตัวมันเอง ดังนั้น วัตถุแต่ละชนิดก็จะมีความสามารถในการสะท้อนแสง และการดูดกลืนด้วยแสงสีที่แตกต่างกัน เช่น เมื่อมีแสงตกกระทบใบไม้ ใบไม้ก็จะดูดกลืนแสงสีอื่นๆเอาไว้ แล้วสะท้อนแสงที่เป็นสีเดียวกับตัววัตถุ ทำให้ออกมาเป็นสีเขียว 

         เงา (Shadow) เงาเป็นสิ่งที่คู่กันกับแสง     การทดลอง คือ การส่องเงาไปยังวัตถุที่เตรียมไว้ก็จะเกิดเงาดำๆขึ้น เงาเกิดขึ้นได้มากเพราะ เงาของวัตถุจะเกิดจากแสงที่เดินทางเป็นเส้นตรงไปเรื่อยๆ เมื่อมีวัตถุเข้ามาขวางทางเดินของแสงไว้ พื้นที่ด้านหน้าของวัตถุจะดูดกลืนและสะท้อนแสงบางส่วนออกมาแต่ว่าพื้นที่หลังวัตถุนั้น แสงส่องไปไม่ถึงจึงไม่มีการส่องสะท้อนเกิดขึ้น จึงเป็นพื้นที่สีดำก็คือเงา เงาเกิดขึ้นทุกครั้งเมื่อมีวัตถุมาขวางทางเดินของแสง กิจกรรม คือ หุ่นเงา 

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

                 สามารถทำการทดลองได้จริง และสามารถนำเป็นสื่อการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัยได้เพื่อการเรียนรู้เรื่อง วิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก

ประเมินตนเอง 

               มีความรับผิดชอบตามงานได้ทัน 

ประเมินเพื่อน 

-

ประเมินอาจารย์
-

หมายเหตุ:   วันนี้ดิฉันไม่ได้เรียนเพราะมีธุระจำเป็นทางบ้านที่ต่างจังหวัด แต่ดิฉันสามารถตามงานที่ได้รับมอบหมายจากการเรียนในคาบของวันที่ 16 กันยายน 2557   ได้ทันและดิฉันจะทำความเข้าใจกับงานที่ได้รับมอบหมาย จึงขอความกรุณาจากอาจารย์ผู้สอน 

                      
















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น