บันทึกอนุทินครั้งที่ 4
บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 9 กันยายน 2557 ครั้งที่ 4
เวลาเข้าสอน 08.00 น. เวลาเรียน 08.30 น.
เวลาเลิกเรียน 12.20 น.
กิจกรรมภายในวันนี้
วันนี้เพื่อนๆได้ออกไปพูดบทความ ทั้ง 5 คน
บทความ (Article)
1.สนุกคิดกับของเล่น วิทย์-คณิตเรียนสนุก นั่งลุกสบาย ได้ความรู้
2.ทำอย่างไรให้ลูกสนใจวิทยาศาสตร์
3.วิทย์-คณิตปฐมวัยก้าวอย่างไรให้ยั่งยืน
4.เมื่อลูกน้อยเรียนรู้วิทย์ -คณิตจากดนตรี
5.การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย
ทักษะวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย (Skills for Science in Early Childhood Development)
วิทยาศาสตร์ หมายถึง การศึกษาสืบค้นและจัดระบบความจริง เกี่ยวกับธรรมชาติ
แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์(The concept of a scientific basis)
1.การเปลี่ยนแปลง(Changes)
2.ความแตกต่าง(Difference)
3.การปรับตัว (Adaptation)
4.การพึ่งพาอาศัยกัน
5.ความสมดุลกัน(Dependence)
การศึกษาวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (The scientific method education)
1.ขั้นกำหนดปัญหา(These defined intellectual property rights.)
2.ขั้นตั้งสมมติฐาน( The hypothesized )
3.ขั้นรวบรวมข้อมูล( Data gathering stage )
4.ขั้นลงข้อมูล( The step data )
สรุปความรู้ที่ได้รับ( knowledge)
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กปฐมวัย ได้อย่างมีกระบวนการที่เหมาะสมเพื่อต่อยอดความคิดต่อไป
การนำการเล่นและดนตรีมาเสริมแทรกในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ให้กับเด็กได้
ประเมินตนเอง
แต่งกายเรียบร้อย ไปถึงก่อนเวลาและอ่านบทความในหัวข้อเรื่อง ทำอย่างไรให้ลูกสนใจวิทยาศาสตร์ ไม่ได้สรุปใจความสำคัญควรจะฝึกตนเองให้ดีกว่าดี
ประเมินเพื่อนๆ
เพื่อนๆ 5 คนออกไปพูดบทความ ทุกคนตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังอาจารย์ สดชื่นแจ่มใส
ประเมินอาจารย์ผู้สอน
อาจารย์แต่งกายเรียบร้อย อาจารย์ใช้คำถามเพื่อให้มีส่วนร่วมและช่วยระดมความคิด การใช้เทคโนโลยีในการเปิด Mind Mapท่านบอกกับนักศึกษาว่า อ่านแล้วต้องพยายามทบทวน
สาระเพิ่มเติม
ทักษะของวิทยาศาสตร์ คือ
1. การสังเกต ( observation ) หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกาย
2. การวัด ( measurement ) หมายถึง ความสามารถในการเลือกใช้เครื่องมือในการวัดอย่างเหมาะสม
3. การจำแนกประเภท ( classification ) หมายถึง การจัดแบ่งหรือเรียงลำดับวัตถุหรือสิ่งที่อยู่ในปรากฏการณ์ต่างๆ ออกเป็นพวกๆ
4. การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปชกับสเปช และสเปชกับเวลา
( space/space relationships and space/time relationships ) หมายถึง ที่ว่างที่วัตถุนั้นครองที่ ซึ่งจะมีรูปร่างลักษณะเช่นเดียวกับวัตถุนั้น โดยทั่วไปแล้วสเปชของวัตถุจะมี 3 มิติ คือ ความกว้าง ความยาว และความสูง
5. การคำนวณ ( using numbers ) เป็นการนำค่าที่ได้จากการสังเกตเชิงปริมาณ การวัด การทดลอง และจากแหล่งอื่น ๆ มาจัดกระทำให้เกิดค่าใหม่
6. การจัดกระทำ และการสื่อความหมายข้อมูล ( organizing data and communica tion ) หมายถึง การนำข้อมูลดิบที่ได้จากการสังเกต การวัด การทดลอง หรือจากตำแหน่งอื่น ๆ มาจัดกระทำเสียใหม่
7. การลงความเห็นจากข้อมูล ( inferring ) ที่แสดงให้เห็นว่าเกิดทักษะนี้คือ สามารถอธิบายหรือสรุป
8. การพยากรณ์ ( prediction ) เป็นการคาดคะเนคำตอบหรือสิ่งที่จะเกิดล่วงหน้า โดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากการสังเกตหรือข้อมูลจากประสบการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ
9. การตั้งสมมติฐาน ( formulating hypotheses ) หมายถึง การคิดหาคำตอบล่วงหน้า ก่อนจะกระทำการทดลองโดยอาศัยการสังเกต ความรู้ ปละประสบการณ์เดิมเป็นพื้นฐาน
10. การกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ ( defining operationally ) หมายถึง การกำหนดความหมายและขอบเขตของตัวแปรที่อยู่ในสมติฐานที่ต้องการทดสอบให้เข้าใจตรงกัน
11. การกำหนดและควบคุมตัวแปร ( identifying and controlling variables ) หมายถึง การบ่งชี้ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรที่ต้องควบคุมในสมมติฐานหนึ่ง ๆ
12. การทดลอง ( experimenting ) หมายถึง การลงลงมือปฏิบัติการทดลองจริง และใช้อุปกรณ์ได้เหมาะสมและถูกต้อง เพื่อหาคำตอบเ
13. การตีความหมายข้อมูลและการลงข้อสรุป ( interpreting data conclusion ) หมายถึง การแปลความหมายหรือบรรยายลักษณะข้อมูลที่มีอยู่
วิทยาศาสตร์ที่ไม่เกิดประโยชน์
-ยากเกินไปหรือง่ายเกินไป
-ไม่สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้
ศึกษาแนวการสอนนะคะว่าครูประเมินอะไรบ้างBlog
ตอบลบครั้งที่4แล้วครูจะไม่บอกรายละเอียดในBlogนะคะ รีบปรับปรุงด่วน
การสรุปมีความรู้ การประยุกต์ใช้แล้วยังมีอะไรอีกคะ
โดยการประยุกต์ใช้ควรกำหนดไปเลยว่าความรู้เรื่องนี้
ปรับปรุงตัวหนังสือนะคะ
ใช้ประยุกต์เมื่อไหร่และอย่างไร
ควรมีการสรุปข้อมูลของบทความที่เพื่อนนำเสนอบ้างนะคะ
ควรใช้เทคโนโลยีนำเสนอข้อสรุปบ้างนะคะ
คำศัพท์ภาษาอังกฤษอาจเพิ่มเติมในMind Mapจะดีมากนะคะ
การใช้ศัพท์ภาษาอังกฤษด้วยจะทำให้เรารับรู้คำศัพท์ที่จะเป็นประโยชน์
ต่อการอ่านภาษาอังกฤษนะคะ