วันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่6

บันทึกอนุทินครั้งที่  6

     บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอนอาจารย์  จินตนา  สุขสำราญ 
       วัน/เดือน/ปี  23 กันยายน 2557 ครั้งที่ 6
   เวลาเข้าสอน  08.00 น.  เวลาเรียน 08.30  น.
        เวลาเลิกเรียน   12.20 น.


กิจกรรมภายในวันนี้

อาจารย์พูดถึง วิธีการเรียนรู้ และ การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Constructionism)


     การที่เด็กลงมือกระทำกับวัตถุโดยผ่านประสามสัมผัสทั้ง5 
คือ   วิธีการเรียนรู้ 
    เช่น  การเดินทางมาเรียนโดยได้ทั้ง 3ทาง คือ รถไฟ เรือ รถเมล์เราวิเคราะห์รวบรวมความคิดที่จะมาแล้วว่าจะมาทางไหน เช่น อาจมาทางเรือ เพราะมันรวดเร็ว  สะดวก และประหยัด เป็นต้น นี้ก็เป็น วิธีการเรียนรู้  ของบุคคลนั้นที่ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 โดยทดลองและเรียนรู้ในการกระทำลงมือปฏิบัติกับสิ่งนั้น


      การเรียนรู้ด้วยตนเอง(Constructionism )คือ เราได้เรียนรู้โดยการลงมือทำด้วยตนเอง(Learning by doing) เราทำสิ่งที่เราสนใจอยากจะทำและทำในสิ่งที่เราเป็นผู้คิดเองว่าจะทำอะไร(ไม่มีใครบังคับ) ในขณะที่ทำเราก็จะเรียนรู้สิ่งต่างๆที่เป็นความรู้ไปพร้อมๆกัน

       เพื่อนๆออกไปพูดบทความ
1.สอนลูกเรื่องพืช
2.เรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านนิทานสำหรับเด็กปฐมวัย
3.แนวทางสอนคิด เติมวิทยาศาสตร์ให้กับเด็ก
4.การทดลองวิทยาศาสตร์สนุกๆสำหรับคุณหนูๆ



                       สรุปความรู้ที่ได้รับ( knowledge)


   


    


กิจกรรมศิลปะ

อุปกรณ์ 

     -กระดาษ

     -สี  ดินสอ

     -กาว

     -ไม้แหลมๆ เช่น ไม้เสียบลูกชิ้น





  



ขั้นตอนการทำ 

1.นำกระดาษพับครึ่ง

2.วาดรูปที่สัมผัสกัน เช่น ปลา กับ สาหร่าย *ตามใจชอบของเด็ก

3.พอวาดเสร็จก็ทากาวเอาไม้ไว้ตรงกลางของกระดาษที่พับครึ่ง

4.เสร็จเรียบร้อยก็ นำมาหมุนเล่น


ประโยชน์จากการทำ


-นำมาใช้ในการเล่นของเด็กปฐมวัย

-เด็กได้เรียนรู้ ถึงวิทยาศาสตร์จากการหมุน ซึ่งภาพที่วาดมันจะ

ซ้อนกันทำให้มีมิติในการเห็นภาพนั้นมีความสัมพันธ์กัน เช่น 

ภาพปลาและสาหร่ายถ้าหมุน ก็ทำให้เห็นว่าปลากำลังว่ายผ่าน

สาหร่ายไปมา เป็นต้น


            ผลงานที่สำเร็จ







การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

    พื่อนำไปเป็นสื่อการเรียนการสอนของเด็กปฐมวัย การสอด

แทรกความรู้ของวิทยาศาสตร์ให้กับเด็ก  คือ การเกิดภาพที่มีการ

ซ้อนกัน และการทดลอง ด้วยตัวเด็กเอง 

   ครูควรให้เด็กลงมือทำด้วยตนเอง  ด้เรียนรู้โดยการลงมือทำด้วยตนเอง(Learning by doing) เช่นการประดิษฐ์ ผลงานศิลปะ 

ประเมินตนเอง

     
     แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียนและร่วมตอบคำถามกับเพื่อนๆได้จดเนื้อหาที่เป็นความรู้ไว้ในสมุด

ประเมินเพื่อนๆ

  เพื่อนๆน่ารัก แต่งกายเรียบร้อยร่วมกันสทนาและหาคำตอบกันได้เกือบทุกคน ตั้งใจเรียน

ประเมินอาจารย์ 

   อาจารย์มุ่งมั่นในการสอนเพราะอยากให้นักศึกษาได้ความรู้มากๆ และนำไปปฏิบัติได้ในชีวิตประจำวัน และให้การบ้านเพื่อให้ไปค้นคว้าด้วยตนเอง ศึกษาด้วยตนเอง
  


สิ่งที่หาเพิ่มเติม


 My Home
เฟรอเบล”  บิดาการศึกษาปฐมวัย

            เฟรดริค วิสเฮม เฟรอเบล ผู้นำการศึกษาอนุบาลที่ได้รับ

ขนานนามว่าเป็น “บิดาการศึกษาปฐมวัย” ด้วยการพัฒนา

โรงเรียนอนุบาลแห่งแรกขึ้นในประเทศเยอรมนีในปี ค.ศ. 1837 

เป็นผู้ริเริ่มแนวคิดการจัดการศึกษาปฐมวัยให้เป็นไปอย่างมีรูป

แบบ กำหนดให้มีการวางแผนการสอน มีหลักสูตรสำหรับการ

ศึกษาปฐมวัย มีการฝึกหัดครู รวมถึงการพัฒนาการสอนเด็ก

ปฐมวัยด้วยการผลิตอุปกรณ์การสอน ที่เรียกว่า ชุดอุปกรณ์ และ

การจัดกิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัยที่เรียกว่า การงานอาชีพ
เฟรอเบลเชื่อว่าเด็กมีความสามารถในสิ่งดีงาม มาตั้งแต่เกิด เด็ก

ปฐมวัยควรจะเรียนรู้ด้วยการเล่น การแสดงออกอย่างอิสระ เด็ก

ควรได้รับประสบการณ์จากการเรียนรู้ทั้งนอกชั้นและในชั้นเรียน

โดยเฉพาะประสบการณ์ที่ได้มาจากการเล่น ด้วยเหตุผลนี้เฟรอ

เบลจึงใช้พื้นฐานความพร้อมของเด็กในการเรียน พัฒนาการตาม

ช่วงอายุ ธรรมชาติของเด็กและเหตุผลทางคณิตศาสตร์ที่เฟรอเบ

ลมีความสนใจมาจัดทำเป็นชุดของเล่นและกิจกรรมสำหรับเด็กที่

สอดคล้องกับวัยของเด็กโดยเรียกชื่อว่า ชุดอุปกรณ์ (Gifts) และ

การงานอาชีพ (Occupations)

แนวคิด ทฤษฎี ทางการศึกษา 


1. จอนห์น ดิวอี้ (John Dewey) เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ตัดสิน


ใจด้วยตนเอง ผู้สอน มีหน้าที่ช่วยเหลือ ให้คำปรึกษา “การเรียนรู้

เกิดจากการกระทำ(Learning by doing)”


2. สกินเนอร์ (B.F. Skinner) การเรียนรู้แบบการกระทำ และการ

เสริมแรง ทั้งบวก และลบ


3. ฌอง ฌาค รุสโซ (Jean Jacques Rouseeau ) “เด็กเปรียบ

เสมือนผ้าขาว” การให้การศึกษาแก่เด็กต้องทำความเข้าใจ

ธรรมชาติของเด็กเสียก่อน


4. ธอร์นไดค์ (Edward L. Thorndike ) ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยง 

(Connectionism Theory) เน้นสิ่งเร้า(Stimulus)กับการตอบ

สนอง(Response)

วันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

บันทึกอนุทินครั้งที่  5



 บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

    อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์  จินตนา  สุขสำราญ 
      วัน/เดือน/ปี    16 กันยายน   2557     ครั้งที่ 5
     เวลาเข้าสอน  08.00 น.  เวลาเรียน 08.30 น.
           เวลาเลิกเรียน   12.20 น.


กิจกรรมภายในวันนี้

ความลับของแสง
     
        นิทานให้มากว่าความสนุกสนาน นิทานกระตุ้นให้เด็กเกิดจินตนาการ นิทานช่วยฝึกทักษะด้านภาษา
(Scholay) อาณาจักรสกอร์ลาร์ อาณาจักรแห่งการเรียนรู้ของเด็กๆ สนุกสนานไปกับการเรียนรู้นิทานและเพลง เพื่อเสริมสร้างนิสัยเด็กเก่งและเด็กดี


       รอบตัวเรามีเรื่องน่ารู้ มากมายหลากหลาย การเรียนวิทย์ต้องมีการคิดการค้าน เหตุและผลจากการทดลอง หาคำตอบ สรุปได้เข้าใจ ฝนตกฟ้าร้อง ฟ้าผ่า พายุหนักถ้าไฟดับก็แย่ เพราะมองไม่เห็น แล้วก็ไม่มีแสงส่วาง แสงเป็นคลื่นชนิด1เหมือนกับคลื่นน้ำในทะเล นอกจากนั้นแสยังเคลื่อนที่ได้เร็วมาก ตั้ง 300,000กิโลเมตร/วินาที ถ้าวิ่งได้เร็วจะวิ่งได้7รอบ ภายใน1นาที

   แสงไฟเกี่ยวข้องอย่างไรของการมองเห็น

  การทดลอง

       เอากล่องใบใหญ่ที่มีฝาปิด เจาะรูข้างๆกล่อง1รู เ้อาของต่างๆมาไว้ในกล่อง เช่น  ตุ๊กตา แล้วก็เปิดฝา กล่อง แล้วมองเข้าไป มืดสนิทเลย พอเปิดฝากล่องออก เห็นทุกอย่างเลยที่เราสามารถมองเห็นวัตถุต่างๆได้เพราะแสงส่องลงโดนวัตถุแสงสะท้อนจากวัตถุนั้นเข้ามายังตาของเราเราถึงจะมองเห็นซึ่งเท่ากับว่าตาของเราก็คือจอสำหรับรับแสงที่สะท้อนเข้ามาจากวัตถุ

         นอกจากมีแสงไฟแล้วก็ยังมีแสงจากดวงอาทิตย์ แล้วนอกจากแสงสว่างจะช่วยให้เรามองเห็นสิ่งต่างๆได้แล้วนะมนุษย์ยังนัวแสงมาใช้ประโยชน์อื่นๆอีกมากมาย
คุณสมบัติหลักๆ
แสงที่เดินทางมาหาเราจะเดินมาเป็นลักษณะยังไง การเคลื่อนที่ของแสง (ทดลอง) นำเอากระดาษแข็งสีดำที่มีขนาดเท่ากันมา 2 แผ่น เจาะรูตรงกลางให้ตรงกัน จากนั้นเราก็จะมาทดลอง คือ
                     
ขั้นที่1 การเปิดไฟในห้องมืด จากนั้นนำกระดาษแข็งแผ่นแรกมาวางขั้นหลอดไฟกับผนังห้อง
= แสงไม่สามารถทะลุผ่านกระดาษออกมาได้ นอกจากตรวจที่เตาะรูไว้ที่มีแสงพุ่งออกมา

ขั้นที่2 นำเอากระดาษอีกแผ่นมาวางซ้อนไว้ข้างหน้ากระดาษแผ่นแรก โดยให้รูที่เจาะอยู่ตรงกัน
= จะเห็นว่าแสงก็ยังพุ่งผ่านกระดาษที่เราเจาะรูไว้ไปยังที่ผนังตำแหน่งเดิม

ขั้นที่3 เราลองขยับเลื่อกระดาษออกไปให้รูที่เจาะไม่ตรงกัน
= แสงจะหยุดที่หระดาษแผ่นที่2 ไม่เปลี่ยนทิศทางไปหารูที่เจาะเอาไว้

ดังนั้น การเดินทางของแสงเป็นเส้นตรง
            
             วัตถุบนโลกเรานี้ เมื่อมีแสงมากระทบแล้วจะมีคุณสมบัติต่างกัน3แบบ 2แบบแรกจะมีคุณสมบัติที่คล้ายกัน ก็คือ แสงจะทะลุผ่านไปได้  และแสงบางส่วน เรียกว่า วัตถุโปร่งแสง และ วัตถุโปร่งใส ส่วนวัตถุอีกแบบจะดูดกลืนแสงบางส่วนไว้ แล้วก็จะสะท้อนแสงที่เหลือเข้าตาเรา เราเรียกว่า วัตถุทึบแสง ซึ่งเป็นวุตถุส่วนใหญ่ที่อยู่บนโลก ได้แก่ ไม้ หิน และ ตัวของเรา
            
            วัตถุโปร่งแสง คือ แสงที่ทะบุผ่่านได้แค่บางส่วนมองเห็นภาพไม่ชัด
            วัตถุโปร่งใส คือ แสงที่ทะลุผ่านไปได้ทั้งหมด 

กล่องรูเข้ม 
            
            ทำไมภาพที่เกิดขึ้นถึงกลับหัว เพราะแสงเดินเป็นเส้นตรงผ่านรูเล็กๆอย่างรูกระป๋อง แสงส่วนบนวิ่งเป็นเส้นตรงผ่านรูเล็กๆมาตรงกระทบที่ด้านล่างกระดาาไข แสงส่วนข้างล่างของภาพวิ่งผ่านรูเล็กมาตกกระทบที่ด้านบนของกระดาษไข  จึงทำให้ภาพกลับหัว ดวงตาของเราก็มีรูเล็กๆ เรียกว่า รูรับแสง ภาพที่ผ่านรูรับแสงก็เป็นภาพกลับหัวเหมือนกัน หลักการนี้จึงนำมาทำกล้องถ่ายรูป

การทดลอง   มีไฟฉายกับกระจกเงา 

         วางกระจกไว้บนพื้นแล้วฉายไฟฉายลงไปตรงๆของกระจกเงา แสงก็จะสะท้อนกลับมาตรงๆ ลองเปลี่ยนแนวของแสงคือ การเฉียง  แสงที่จะสะท้อนก็เฉียงไปด้านตรงข้าม กับแสงที่เราส่องลงไปด้วย คราวนี้ลองเฉียงมากๆ แสงสะท้อนไปตรงกันข้ามมากขึ้น  แสดงว่าเมื่อแสงสะท้อนไปจากวัตถุต้องถูกไปยังทิศทางตรงกันข้ามกับทิศทางของแสงที่ส่องลงมาตลอดเพราะลำแสงที่สัมผัสกับพื้นผิววัตถุแล้วสะท้อนกลับนั้นจะเป็นมุมที่เท่ากันกับลำแสงที่ส่องลงมาเสมอ การส่องกระจกคือการสะท้อนของแสงอีกเช่นกัน

          กล้องคาไลโดสโคป (Kaleidoscope) อุปกรณ์ คือ กระจกเงา3บานมาประกบกันให้เป็นกระบอกทรง3เหลี่ยม แล้วเห็นภาพที่เยอะแยะ ภาพที่ส่องจากกล้องคาไลโดสโคป เกิดขึ้นเยอะแยะเพราะใช้หลักการสะท้อนของแสงและมุมประกบของกระจก เมื่อแสงตกกระทบในกระบอกทรง3 เหลี่ยม มันก็จะสะท้อนไปสะท้อนมาจึงทำให้เกิดภาพมากมาย

          การประดิษฐ์อุปกรณ์ กล้องส่องภาพระดับเหนือสายตา หรือกล่องเฮรี่สโคป อุปกรณ์กล่องสูงๆยาวและกระจกเงาเล็กๆ2แผ่น เริ่มต้นเจาะช่องข้างกล่อง2ช่อง แล้วให้ทั้งสองช่องนั้น อยู่ยนกล่องด้านตรงกันข้าม โดยช่องแรกให้เจาะติดกันกับขอบด้านล่างและอีกช่องเจาะติดกับกล่องด้านบน แล้วนำกระจกมาติดไว้ให้แน่น บานแรกติดกระจกหงายด้านขึ้น เฉียงทำมุม45 องศา กับพื้นกล่องด้านล่าง แล้วหันหน้าไปทางช่องที่เจาะ ส่วนอีกบานก็จะติดกับฝากล่องด้านบนทำมุม 45 องศา  แล้วให้ไปทางช่องที่เราเจาะไว้เช่นกัน จากนั้นเราก็เอาไปส่องวัตถุที่อยู่สูงๆ ก็สามารถเห็นวัตถุนั้นได้ผ่านกระจกเงา                          
         หลักการหักเหของแสง (Refraction of lightคือ แสงจะเปลี่ยนทิศทางในการเคลื่อนที่เพราะแสงเดินทางผ่านวัตถุหรือตัวกลางคนละขนิดกันเช่น เมื่อแสงเดินทางผ่านอากาศ เข้าสู่ตู้กระจกที่มีน้ำ น้ำจะมีความหนาแน่นกว่าอากาศ ทำให้แสงเคลื่อนที่ไปได้ช้ากว่าในอากาศ เส้นทางเดินของแสงก็หักเหไปด้วย ลักษณะของการหักเหของแสง จะหักเหเข้ากับแนวที่ตั้งฉากกับผิวน้ำที่เรียกว่า   เส้นปกติ 
       การทดลอง  เราจะมาอ่านหนังสือผ่านแก้วที่มีน้ำก่อนที่จะอ่านต้องมีอุปกรณ์ คือ แก้วน้ำใบใหญ่เติมน้ำลงไปให้เต็ม จากนั้นเราก็นำข้อความที่เราจะอ่านไว้ข้างแก้วน้ำ จะเห็นได้ว่าตัวหนังสือใหญ่ขึ้น ที่ตัวหนังสือใหญ่ขึ้นเพราะ การหักเหของแสงแก้วผิวโค้งที่ใส่น้ำเอาไว้จะทำให้แสงผ่านเข้าไปข้างใน เกิดหารหักเหและกระจายออกทำให้ตัวหนังสือใหญ่ สามารถนำมาทำเลนส์ต่างๆได้ เลนส์ที่ว่าก็คือ แผ่นแก้วหรือแผ่นกระจก ที่ถูกทำให้ผิวหน้าโค้งนูนออกมา เช่น แว่นขยาย เป็นต้น 

      รุ้งกินน้ำ (Rainbow)    รุ้งกินน้ำก็เกิดจากการหักเหของแสง ปกติแสงขาวๆที่เรามองเห็น ประกอบไปด้วย7สี คือ สี ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง  แม่สีทั้ง7เหมือนรวมกันเป็นสีขาว หลังฝนตกเสร็จใหม่ๆ ก็จะมีละอองน้ำ ในอากาศแล้วเมื่อแสงผ่านละอองน้ำเหล่านั้นก็จะเกิดการหักเหแล้วปกตินั้น สีปกติของแสงจะมีการเคลื่อนที่ไม่เท่ากัน เมื่อมันส่องผ่านละอองน้ำจำนวนมากในอากาศ จึงเกิดการหักเห ผลที่ตามมาก็คือ แสงขาวๆนั้นจะแยกตัวเป็น สีเดิมทั้ง7สี ที่เรียกว่า แถบสเปกตรัม ( spectrm) เราเรียกว่า รุ้งกินน้ำ รุ้งกินน้ำจะเกิดในทิศทางตรงกันข้ามกับดวงอาทิตย์ ในเวลาหลังฝนตกใหม่ๆ วัตถุในโลกต่างก็มีสีของตัวมันเอง ดังนั้น วัตถุแต่ละชนิดก็จะมีความสามารถในการสะท้อนแสง และการดูดกลืนด้วยแสงสีที่แตกต่างกัน เช่น เมื่อมีแสงตกกระทบใบไม้ ใบไม้ก็จะดูดกลืนแสงสีอื่นๆเอาไว้ แล้วสะท้อนแสงที่เป็นสีเดียวกับตัววัตถุ ทำให้ออกมาเป็นสีเขียว 

         เงา (Shadow) เงาเป็นสิ่งที่คู่กันกับแสง     การทดลอง คือ การส่องเงาไปยังวัตถุที่เตรียมไว้ก็จะเกิดเงาดำๆขึ้น เงาเกิดขึ้นได้มากเพราะ เงาของวัตถุจะเกิดจากแสงที่เดินทางเป็นเส้นตรงไปเรื่อยๆ เมื่อมีวัตถุเข้ามาขวางทางเดินของแสงไว้ พื้นที่ด้านหน้าของวัตถุจะดูดกลืนและสะท้อนแสงบางส่วนออกมาแต่ว่าพื้นที่หลังวัตถุนั้น แสงส่องไปไม่ถึงจึงไม่มีการส่องสะท้อนเกิดขึ้น จึงเป็นพื้นที่สีดำก็คือเงา เงาเกิดขึ้นทุกครั้งเมื่อมีวัตถุมาขวางทางเดินของแสง กิจกรรม คือ หุ่นเงา 

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

                 สามารถทำการทดลองได้จริง และสามารถนำเป็นสื่อการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัยได้เพื่อการเรียนรู้เรื่อง วิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก

ประเมินตนเอง 

               มีความรับผิดชอบตามงานได้ทัน 

ประเมินเพื่อน 

-

ประเมินอาจารย์
-

หมายเหตุ:   วันนี้ดิฉันไม่ได้เรียนเพราะมีธุระจำเป็นทางบ้านที่ต่างจังหวัด แต่ดิฉันสามารถตามงานที่ได้รับมอบหมายจากการเรียนในคาบของวันที่ 16 กันยายน 2557   ได้ทันและดิฉันจะทำความเข้าใจกับงานที่ได้รับมอบหมาย จึงขอความกรุณาจากอาจารย์ผู้สอน 

                      
















วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4



 บันทึกอนุทิน
  วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
 อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์  จินตนา  สุขสำราญ 
       วัน/เดือน/ปี   9 กันยายน   2557     ครั้งที่ 4
     เวลาเข้าสอน  08.00 น.    เวลาเรียน 08.30  น.
           เวลาเลิกเรียน   12.20 น.


กิจกรรมภายในวันนี้


วันนี้เพื่อนๆได้ออกไปพูดบทความ ทั้ง 5 คน 
           
                               บทความ  (Article)

1.สนุกคิดกับของเล่น วิทย์-คณิตเรียนสนุก นั่งลุกสบาย ได้ความรู้
2.ทำอย่างไรให้ลูกสนใจวิทยาศาสตร์
3.วิทย์-คณิตปฐมวัยก้าวอย่างไรให้ยั่งยืน
4.เมื่อลูกน้อยเรียนรู้วิทย์ -คณิตจากดนตรี
5.การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย


ทักษะวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย (Skills for Science in Early Childhood Development)

ความหมายของวิทยาศาสตร์  (The meaning of science)
     วิทยาศาสตร์ หมายถึง การศึกษาสืบค้นและจัดระบบความจริง เกี่ยวกับธรรมชาติ

แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์(The concept of a scientific basis)

1.การเปลี่ยนแปลง(Changes)
2.ความแตกต่าง(Difference)
3.การปรับตัว (Adaptation)
4.การพึ่งพาอาศัยกัน
5.ความสมดุลกัน(Dependence)

การศึกษาวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (The scientific method education)

1.ขั้นกำหนดปัญหา(These defined intellectual property rights.)
2.ขั้นตั้งสมมติฐาน( The hypothesized )
3.ขั้นรวบรวมข้อมูล(  Data gathering stage )
4.ขั้นลงข้อมูล( The step data )



                          สรุปความรู้ที่ได้รับ( knowledge)






การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

                เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กปฐมวัย ได้อย่างมีกระบวนการที่เหมาะสมเพื่อต่อยอดความคิดต่อไป
       การนำการเล่นและดนตรีมาเสริมแทรกในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ให้กับเด็กได้


 ประเมินตนเอง
แต่งกายเรียบร้อย ไปถึงก่อนเวลาและอ่านบทความในหัวข้อเรื่อง ทำอย่างไรให้ลูกสนใจวิทยาศาสตร์ ไม่ได้สรุปใจความสำคัญควรจะฝึกตนเองให้ดีกว่าดี

ประเมินเพื่อนๆ

    เพื่อนๆ 5  คนออกไปพูดบทความ ทุกคนตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังอาจารย์ สดชื่นแจ่มใส



ประเมินอาจารย์ผู้สอน
      อาจารย์แต่งกายเรียบร้อย อาจารย์ใช้คำถามเพื่อให้มีส่วนร่วมและช่วยระดมความคิด  การใช้เทคโนโลยีในการเปิด Mind  Mapท่านบอกกับนักศึกษาว่า อ่านแล้วต้องพยายามทบทวน

สาระเพิ่มเติม

ทักษะของวิทยาศาสตร์ คือ
1. การสังเกต ( observation ) หมายถึง  การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่  ตา  หู  จมูก  ลิ้น  และผิวกาย  

2. การวัด ( measurement ) หมายถึง ความสามารถในการเลือกใช้เครื่องมือในการวัดอย่างเหมาะสม  

3. การจำแนกประเภท ( classification )  หมายถึง การจัดแบ่งหรือเรียงลำดับวัตถุหรือสิ่งที่อยู่ในปรากฏการณ์ต่างๆ ออกเป็นพวกๆ

4. การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปชกับสเปช  และสเปชกับเวลา
 ( space/space   relationships and space/time relationships ) หมายถึง ที่ว่างที่วัตถุนั้นครองที่  ซึ่งจะมีรูปร่างลักษณะเช่นเดียวกับวัตถุนั้น  โดยทั่วไปแล้วสเปชของวัตถุจะมี 3 มิติ  คือ  ความกว้าง  ความยาว  และความสูง
5. การคำนวณ ( using  numbers )  เป็นการนำค่าที่ได้จากการสังเกตเชิงปริมาณ  การวัด  การทดลอง  และจากแหล่งอื่น ๆ มาจัดกระทำให้เกิดค่าใหม่

6. การจัดกระทำ และการสื่อความหมายข้อมูล ( organizing data  and communica tion )    หมายถึง  การนำข้อมูลดิบที่ได้จากการสังเกต  การวัด  การทดลอง  หรือจากตำแหน่งอื่น ๆ  มาจัดกระทำเสียใหม่ 

7. การลงความเห็นจากข้อมูล ( inferring ) ที่แสดงให้เห็นว่าเกิดทักษะนี้คือ สามารถอธิบายหรือสรุป

8.  การพยากรณ์  ( prediction ) เป็นการคาดคะเนคำตอบหรือสิ่งที่จะเกิดล่วงหน้า โดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากการสังเกตหรือข้อมูลจากประสบการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ  

9. การตั้งสมมติฐาน ( formulating  hypotheses ) หมายถึง  การคิดหาคำตอบล่วงหน้า  ก่อนจะกระทำการทดลองโดยอาศัยการสังเกต  ความรู้  ปละประสบการณ์เดิมเป็นพื้นฐาน

10. การกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ ( defining  operationally ) หมายถึง  การกำหนดความหมายและขอบเขตของตัวแปรที่อยู่ในสมติฐานที่ต้องการทดสอบให้เข้าใจตรงกัน 

11. การกำหนดและควบคุมตัวแปร  ( identifying and controlling variables ) หมายถึง  การบ่งชี้ตัวแปรต้น  ตัวแปรตาม  และตัวแปรที่ต้องควบคุมในสมมติฐานหนึ่ง ๆ 

12. การทดลอง ( experimenting ) หมายถึง  การลงลงมือปฏิบัติการทดลองจริง  และใช้อุปกรณ์ได้เหมาะสมและถูกต้อง  เพื่อหาคำตอบเ
13. การตีความหมายข้อมูลและการลงข้อสรุป ( interpreting data conclusion ) หมายถึง  การแปลความหมายหรือบรรยายลักษณะข้อมูลที่มีอยู่  


วิทยาศาสตร์ที่ไม่เกิดประโยชน์

   -ยากเกินไปหรือง่ายเกินไป
   -ไม่สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้




















วันอาทิตย์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่3

บันทึกอนุทินครั้งที่3



 บันทึกอนุทิน
  วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

 อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์  จินตนา  สุขสำราญ 
   วัน/เดือน/ปี   2 กันยายน   2557     ครั้งที่ 3
    เวลาเข้าสอน  08.00 น.    เวลาเรียน 08.30  น.
           เวลาเลิกเรียน   12.20 น.

กิจกรรมภายในวันนี้

 ในตอนเช้า  เพื่อนๆออกไปนำเสนอบทความ

   1.วิทยาศาสตร์และการทดลอง
   2.ภารกิจตามหาใบไม้
   3.เรื่องไม่เล็กของเด็กชายหอบกับการสร้างวิทยาศาสตร์แบบบูรณาการ
   4.การแยกเมล็ด
   5.การทำกิจกรรม เป่าลูกโป่ง


คุณลักษณะตามวัยของเด็กอายุ 3-5 ปีที่
กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาปรฐมวัย พ.ศ. 2546 มีดังนี้

เด็กอายุ 3 ปี

-พัฒนาการด้านสติปัญญา

-สำรวจสิ่งต่างๆที่เหมือนกันและต่างกันได้

-บอกชื่อของตนเองได้

-ขอความช่วยเหลือเมื่อมีปัญหา

-สนทนาตอบโต้/เล่าเรื่องด้วยประโยคสั้นๆได้

-สนใจนิทานและเรื่องราวต่างๆ


เด็กอายุ4 ปี

-พัฒนาการด้านสติปัญญา

-จำแนกสิ่งต่างๆด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้าได้

-บอกชื่อและนามสกุลของตนเอง

-พยายามแก้ไขปัญหาด้วยตนเองหลังจากได้รับคำชี้แนะ

-สนทนาโต้ตอบ/เล่าเรื่องเป็นประโยคอย่างต่อเนื่อง


เด็กอายุ5ปี

-บอกความแตกต่างระหว่างเสียง รส รูปร่าง และหมวดหมู่สิ่งของได้

-บอกชื่อ นามสกุล และที่อยู่ของตนเองได้

-พยายามหาวิธีแก้ปัญหาด้วยตนเองได้

-สนทนาโต้ตอบอย่างเป็นเรื่องราวได้



ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย (อายุ3-5ปี)




                          




หลักการ/แนวคิดสู่การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก   
นักการศึกษา/หลักการ แนวคิด


 กีเซล (Gesell) เชื่อว่า
  พัฒนาการของเด็กเป็นไปอย่างมีแบบแผนและเป็นขั้นตอน เด็กควรพัฒนาไปตามธรรมชาติไม่ควรเร่งหรือบังคับ   การเรียนรู้ของเด็กเกิดขึ้นจากการ การเคลื่อนไหว การใช้ภาษา การปรับตัวเข้าสังคมกับบุคคลรอบข้าง
การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
 จัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
 ให้เด็กได้เล่นกลางแจ้ง
 จัดกิจกรรมสร้างสรรค์ ฝึกการใช้มือและ ประสาทสัมพันธ์มือกับตา
 จัดกิจกรรมให้เด็กได้ฟัง ได้พูดท่องคำคล้องจอง ร้องเพลง ฟังนิทาน
 จัดให้เด็กทำกิจกรรมเดี่ยวและกิจกรรมกลุ่ม

          ฟรอยด์ (Freud) เชื่อว่า           ประสบการณ์ในวัยเด็กส่งผลต่อบุคลิกภาพ ของคนเราเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ หากเด็กไม่ได้รับการตอบสนองอย่างเพียงพอ จะเกิดอาการชะงัก พฤติกรรมถดถอย คับข้องใจส่งผลต่อพัฒนาการของเด็ก
การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
•  ครูเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งการแสดงออก ท่าทีวาจา
  จัดกิจกรรมเป็นขั้นตอน จากง่ายไปหายาก
• จัดสิ่งแวดล้อมที่บ้านและโรงเรียนเพื่อส่งเสริมพัฒนาบุคลิกภาพของเด็ก
อีริคสัน (Erikson) เชื่อว่า

    ถ้าเด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เด็กพอใจ ถ้าเด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี ไม่พอใจจะมองโลกในแง่ร้าย ขาดความเชื่อมั่นในตนเองและไม่ไว้วางใจผู้อื่นประสบผลสำเร็จ เด็กจะมองโลกในแง่ดี 

มีความเชื่อมั่นและไว้วางใจผู้อื่น


การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
•  จัดกิจกรรมให้เด็กได้ประสบผลสำเร็จ พึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมของห้องเรียน เพื่อนครู

•  จัดบรรยากาศในห้องเรียน ให้เด็กมีโอกาสสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อสภาพแวดล้อม ครูและเพื่อน ๆ

เพียเจท์ (Piaget) เชื่อว่า    พัฒนาการทางด้านเชาว์ปัญญาของเด็กเกิดจากการที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมรอบ ๆ ตัวเด็ก มีการรับรู้จากสิ่งแวดล้อมใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นตลอดเวลา และมีการปรับขยายประสบการณ์เดิม ความคิดและความเข้าใจให้ขยายมากขึ้นพัฒนาการของเด็กปฐมวัย (0 – 6 ปี)
1ขั้นประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหววัย 0 – 2 ปี เด็กเรียนรู้ทุกอย่างทางประสาทสัมผัสทุกด้าน2. ขั้นความคิดก่อนปฏิบัติการวัย 2 – 6 ปี เริ่มเรียนภาษาพูดและภาษาท่าทางในการสื่อสารยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง คิดหาเหตุผลไม่ได้จัดหมวดหมู่ได้ตามเกณฑ์ของตนเอง

การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
• จัดกิจกรรมให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัส ทั้ง 5
  จัดให้เด็กฝึกฝนทักษะ การสังเกต การจำแนก เปรียบเทียบ
• จัดกิจกรรมให้เด็กมีโอกาสคิดหาเหตุผลเลือก และตัดสินใจสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง
• จัดให้เด็กได้เรียนรู้จากสิ่งใกล้ตัวไปสู่เรื่องไกลตัว และมีลักษณะที่เป็นรูปธรรม

   
ดิวอี้ (Dewey) เชื่อว่า
เด็กเรียนรู้โดยการกระทำ

การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
• จัดกิจกรรมให้เด็กได้ประสบผลสำเร็จพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมของห้องเรียนเพื่อน ครู

• จัดบรรยากาศในห้องเรียน ให้เด็กมีโอกาสสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อสภาพแวดล้อม ครูและเพื่อน ๆ

สกินเนอร์  (Skinner) เชื่อว่า
     ถ้าเด็กได้รับการชมเชย และประสบผลสำเร็จในการทำกิจกรรม เด็กสนใจที่ทำต่อไป  เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ไม่มีใครเหมือนใคร  

การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
• ให้แรงเสริม เช่น ชมเชย ชื่นชม เมื่อเด็กทำกิจกรรมประสบผลสำเร็จ 

 •  ไม่นำเด็กมาเปรียบเทียบแข่งขันกัน
 

ปสตาลอสซี่ (Pestalozzi) เชื่อว่า

     ความรักเป็นพื้นฐานสำคัญและจำเป็นต่อการพัฒนาเด็ก ทั้งด้านร่างกายและสติปัญญา เด็กแต่ละคนแตกต่างกัน ทั้งด้านความสนใจความต้องการ และระดับความสามารถในการเรียน เด็กไม่ควรถูกบังคับให้เรียนรู้ด้วยการท่องจำ
การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก   
• จัดกิจกรรมเตรียมความพร้อม ให้ความรักให้เวลา และให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์

ฟรอเบล (Froeble) เชื่อว่า

      ควรส่งเสริมพัฒนาการตามธรรมชาติของเด็กด้วยการกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์อย่างเสรี  การเล่นเป็นการทำงานและการเรียนรู้ของเด็ก

การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก              
 • จัดกิจกรรมเรียนรู้ผ่านการเล่นอย่างเสรี

                   สรุป my map ท้ายคราบเรียน

    ความรู้ที่ได้รับ

        



การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

-นำทฤษฎีมาปฏิบัติกับเด็กปฐมวัยได้ในการสอน
-จัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะให้กับเด็ก
-จัดกิจกรรมเป็นขั้นตอน จากง่ายไปหอ่านเพิ่มเติมายาก
-จัดบรรยากาศในห้องเรียน ให้เด็กมีโอกาสสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อสภาพแวดล้อม ครูและเพื่อน ๆ
-จัดกิจกรรมให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัส  ทั้ง 5
-ห้แรงเสริม เช่น ชมเชย ชื่นชม เมื่อเด็กทำกิจกรรมประสบผลสำเร็จ 
-ให้ความรักให้เวลา และให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์
-จัดกิจกรรมเรียนรู้ผ่านการเล่นอย่างเสรี

ประเมินตนเอง
    แต่งกายเรียบร้อย  เข้าห้องช้า ต้องรีบไปให้เร็วกว่านี้ ตั้งใจฟังอาจารย์สอน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันระหว่างอาจารย์ผู็สอนและนักศึกษา

ประเมินเพื่อนๆ
     เพื่อนแต่งกายเรียบร้อย เพื่อน 5  คนออกไปพูดบทความ ทุกคนตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังอาจารย์

ประเมินอาจารย์ผู้สอน
      อาจารย์แต่งกายเรียบร้อย อาจารย์ใช้คำถามมาถามนักศึกษา ในด้านความคิดต่างๆเพื่อให้นักศึกษา แสดงความคิดเห็น และแลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน

สาระเพิ่มเติม
บทความเรื่อง ทำอย่างไรให้ลูกสนใจวิทยาศาสตร์  
เขียนโดย  เชิญตะวัน สุววณพานิช

      วิทยาศาสตร์ เป็นวิชาหนึ่งที่ทำให้เด็กๆ ปวดหัวและเบื่อ แม้จะมี

ประโยชน์สำหรับเด็กๆ อย่างมากในอนาคต theAsianparent ได้ไป

ร่วมงานสัมมนาของกรุงเทพมหานคร ในหัวข้อ "ทำอย่างไรให้หนังสือ

แนววิทยาศาสตร์เป็นเรื่องน่าอ่านสำหรับเยาวชน" เรามีเคล็ดลับมา

ฝากทุกท่านในการทำให้ลูกรักและสนใจวิทยาศาสตร์ด้วยค่ะ ศึกษาเพิ่มเติม