บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 11 พฤศจิกายน 2557 ครั้งที่ 13
เวลาเข้าสอน 08.00 น. เวลาเรียน 08.30 น.
เวลาเลิกเรียน 12.20 น.
กิจกรรมภายในวันนี้
วันนี้นำเสนอแผนการสอนที่เหลือ ทุกๆกลุ่มและทำกิจกรรมไข่ทาโกยากิ เขียนหัวข้อ บทความ งานวิจัยและโทรทัศน์ครู
1.หน่วยสับปะรด
2.หน่วยส้ม
3.หน่วยทุเรียน
4.หน่วยมด
5.หน่วยดิน
6.หน่วย น้ำ
แต่ละกลุ่มนำเสนอดีและเนื้อหาสนุกและบางกลุ่มยังสอนไม่เต็มที่และไม่ถูกต้องตามแผนจึงได้รับคำแนะนำและปรับปรุงแก้ไขต่อไป
กิจกรรมต่อไป คือ ไข่ทาโกยากิ
ในการทำไข่ทาโกยากิครั้งนี้เป็นกลุ่มของหน่วยไข่ที่นำเสนอและให้เพื่อนๆมีส่วนร่วมด้วยกัน
ส่วนผสมในการทำ
1. ไข่ไก่
2.ข้าว
3.ซีอิ้วขาว
4.แครอท
5.ต้นหอม
6.ปูอัด
อุปกรณ์ในการทำ
1.เครื่องทำทาโกยากิ
2.กระดาษ
3.กรรไกร
4.ช้อน ซ้อม
5.ถ้วยเล็ก
6.มีดและเขียง
วิธีการทำ
แบ่งกลุ่มนั่งกลุ่มละ 5 คน
โต๊ะที่ 1
ตัดกระดาษเป็นวงกลมเพื่อเป็นที่รองถ้วยเล็ก
โต๊ะที่ 2
หันผักที่เตรียมมาคือแครอท ต้นหอม และปูอัด
โต๊ะที่3
ตีไข่ใส่ในถ้วยเล็ก คนละ 1 ฟอง
โต๊ะที่ 4
นำไข่ที่ตีมาเติมเครื่องปรุง คือ ข้าว ผักชี แครอทและ ซีอิ้วขาว
โต๊ะที่ 5
นำไข่มาเท่ลงในเครื่องทำทาโกยากิและพลิกด้านให้มันเป็นลูกกลมๆ
เพื่อนๆทุกคนต้องวนให้ครบทุกโต๊ะและทำทุกขั้นตอนที่เตียมไว้ทุกโต๊ะ
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
การจัดกิจกรรมที่สามารถทำให้เด็กได้มีส่วนร่วมกับครูและเป็นสิ่งที่ไม่อยากจนเกินไปในการทดลองทำ ควรเลือกสิ่งที่เด็กสนใจ หาง่าย ประหยัด และทำได้ง่าย
ประเมินตนเอง
ในการนำเสนอแผนทุเรียนไม่ได้เตรยมตัวมาทำให้ล่าช้าและมีข้อปรับปรุงแก้ไขเยอะมาก จึงทำห้เสียเวลาในการสอน และการทำไข่ทาโกยากิให้ความร่วมมือกับเพื่อนได้ดี
ประเมินเพื่อนๆ
เพื่อนให้ความร่วมมือกันดีและร่วมกันชิมไข่ทาโกยากิที่ตนเองทำและร่วมกันสทนากันภายในห้อง
ประเมินอาจารย์
อาจารย์มีความมุ่งมั่นในการสอน โดยหากิจกรรมมาให้นักศึกษาไม่ทำน่าเบื่อเพราะมีกิจกรรมทำกันภายในห้องทำและให้คำแนะนำดีๆในการเรียนการสอน
ข้อเสนอแนะ
เวลาล่วงเลยมา 13.00น. ปกติเลิกเรียนเวลา 12.20 น.เพราะติดตรงนักศึกษาสอนแผนช้าและไม่ถูกจึงมีการแก้ไขภายในคาบ
สรุปงานวิจัย
ชื่อเรื่อง ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับประสบการณ์จากการใช้
กิจกรรมมุ่งเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
และการเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผน
นิยาม
เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับประสบการณ์จาการใช้กิจกรรมมุ่งเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผน
การทดลอง
นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2543 โรงเรียนเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 30 คน โดยมีเนื้อหาในแผนการจัดประสบการณ์ของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ จำนวน 6หน่วย คือ หน่วยสัตว์เลี้ยงแสนดี หน่วยกล้วยจ๋าน่ากินจัง หน่วยผลไม้ใครๆก็ชอบ หน่วยผักสดสะอาด หน่วยต้นไม้เพื่อนรัก และหน่วยไม้ดอกไม้ประดับ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ด้านทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการสื่อความหมาย ทักษะการลงความคิดเห็น ทักษะการหามิติสัมพันธ์
การส่งเสริม
1.การวางแผนการจัดประสบการณ์ โดยเริ่มตั้งแต่ศึกษาความคิดรวบยอด จุดประสงค์ เนื้อหา การดำเนินกิจกรรมและการประเมินผล
2.ลักษณะการจัดประสบการณ์ โดยใช้กิจกรรมมุ่งเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผน โดยการเปิดโอกาสให้เด็กได้ทำกิจกรรมด้วยตนเอง โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 เช่น การพูด ฟัง การสังเกตและปฏิบัติทดลอง
สรุปบทความ
วิทยาศาสตร์ เป็นวิชาหนึ่งที่ทำให้เด็กๆ ปวดหัวและเบื่อ
แม้จะมีประโยชน์สำหรับเด็กๆ อย่างมากในอนาคต theAsianparent
ได้ไปร่วมงานสัมมนาของกรุงเทพมหานคร ในหัวข้อ
"ทำอย่างไรให้หนังสือแนววิทยาศาสตร์เป็นเรื่องน่าอ่านสำหรับเยาวชน"
เรามีเคล็ดลับมาฝากทุกท่านในการทำให้ลูกรักและสนใจวิทยาศาสตร์ด้วย
1. อ่านหนังสือการ์ตูนวิทยาศาสตร์
หนังสือเรียนอาจดูน่าเบื่อสำหรับเด็ก ๆ แต่อย่ากังวลไปค่ะ
เพราะในปัจจุบันมีหนังสือเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์มากมาย
ที่เขียนให้ไม่น่าเบื่อ น่าติดตาม มีภาพประกอบสวยงาม
แต่ละเรื่องสอดแทรกการทดลองที่น่าสนใจไว้ บางเล่มก็เป็นการ์ตูนภาพน่ารัก ๆ
บางเล่มก็เป็นนิยายผจญภัย ยกตัวอย่างเช่น
หนังสือการ์ตูนโดราเอมอนในชุดความรู้
จะมีเล่มที่มีการ์ตูนพร้อมอธิบายเรื่องจักรวาลไว้ด้วย หนังสือการ์ตูน
เอาชีวิตจากโลกร้อน ที่ช่วยสอนเด็ก ๆ ให้ช่วยกันดูแลสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น
หรือจะเป็นหนังสือหลักคณิตคิดเร็ว
หรือหนังสือสารานุกรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กและเยาวชนด้วย
2. ทำการทดลองอย่างง่าย ๆ
หากยังไม่ทราบจะทำการทดลองแบบใด หรือ ทำการทดลองแนวไหน
ลองหาหนังสือการทดลองทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กมาเป็นแนวทางก็ได้ค่ะ
ที่เราขอแนะนำ เช่น กล่องกิจกรรมทดลองชุดเจาะลึกเทคโนโลยีด้วยวิทยาศาสตร์
ที่ให้เด็ก ๆ ได้สนุกสนานไปกับการทดลองสารเรืองแสง หรือหนังสือชื่อ
“ทำอย่างไรให้วัวกินหญ้าเป็นรูปครึ่งวงกลม” และ
“เราก้าวทะลุโปสการ์ดได้อย่างไร” ที่ช่วยแนะนำการทดลองแบบง่าย ๆ
ทำได้ที่บ้าน อย่าง การเรียนรู้เรื่องทรงเรขาคณิตจากการพับกระดาษ
การพับปิระมิด การพับวงกลมสองวงให้กลายเป็นสี่เหลี่ยม หรือการสอนเด็ก ๆ
เรื่องการคาดคะเนผ่านการทดลองตัดพิซซ่า และโดนัท
3. พาเข้าพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แบบ interactive
ในประเทศไทยมีพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แบบ interactive
(พิพิธภัณฑ์เชิงปฏิสัมพันธ์)
หรือพิพิธภัณฑ์ที่ให้ผู้ชมมีส่วนร่วมในการปฏิบัติหรือทดลอง
เข้าร่วมในกิจกรรมของพิพิธภัณฑ์ด้วยด้วยได้ คือ จตุรัสวิทยาศาสตร์
เป็นสวนสนุกวิทยาศาสตร์หรือแหล่งเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์รู้ที่เน้นส่งเสริม
ความรู้คู่ความบันเทิงให้กับเด็ก ๆ ตั้งอยู่ ณ ชั้น 4 และชั้น 5
อาคารจามจุรีสแควร์ ที่นี่เน้นการจัดนิทรรศการทางวิทยาศาสตร์ มีกิจกรรมต่าง
ๆ ที่ออกแบบมาให้เข้ากับธรรมชาติของเด็ก โดยเฉพาะชิ้นงานวิทยาศาสตร์แบบ
Interactive ที่เน้นการมีส่วนร่วมของผู้เข้าชม โดยเฉพาะเด็ก ๆ
ให้สามารถทดลอง สัมผัส เรียนรู้ด้วยตัวเองด้วย นอกจากนี้ยังมีสนามเด็กเล่น
Kid Play Ground ที่ช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ของเด็กวัย 3-8 ปี
ด้วยการพัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์และช่วยปลูกฝังความสนใจด้านวิทยาศาสตร์
คณิตศาสตร์ให้กับเด็กด้วย
สรุป โทรทัศน์ครู
การสอนของครูกอบวิทย์
เป็นการกระตุ้นให้เด็กได้มีส่วนร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างเต็ม
ที่ ครูกอบวิทย์สามารถสอนในสิ่งที่เป็นนามธรรมให้กลายเป็นรูปธรรมได้
โดยการแสดงบทบาทสมมติ และการจำลอง
จากที่ครูกอบวิทย์สอนสอนนักเรียนจะรู้จักสถานะของสารแต่ไม่สามารถอธิบายได้
ว่าอนุภาคของสาร มีหน้าตาหรือลักษณะอย่างไร
ครูกอบวิทย์จึงสอนโดยเปรียบกับนักเรียนแต่ละคนคืออนุภาคของสารแต่ละอนุภาค
ในการสอนครูกอบวิทย์จะมีการอธิบายพร้อมให้นักเรียนได้ปฏิบัติ
เมื่อสอนเสร็จก็จะมีการสรุปอย่างเป็นรูปธรรมอีกครั้งหนึ่งโดยการใช้สื่อเป็น
รูปธรรม ทำให้นักเรียนเข้าใจได้ง่ายขึ้น
และสุดท้ายครกอบวิทย์จะมีการประเมินผลโดยให้นักเรียนได้เขียนแสดงความรู้ของ
ตัวเองออกมา หลักสำคัญที่ครูกอบวิทย์คำนึงถึงในการจัดการเรียนการสอนคือ
จะทำอย่างไรที่จะจัดกระบวนการเรียนรู้ให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างสนุกสนาน
ควบคู่ไปกับการฝึกทักษะและพัฒนากระบวนการคิดของนักเรียน