วันพฤหัสบดีที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่9

บันทึกอนุทินครั้งที่  9


 บันทึกอนุทิน
  วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

    อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์  จินตนา  สุขสำราญ 
        วัน/เดือน/ปี   14 ตุลาคม   2557  ครั้งที่ 9
     เวลาเข้าสอน  08.00 น.    เวลาเรียน 08.30  น.
           เวลาเลิกเรียน   12.20 น.


กิจกรรมภายในวันนี้

       อาจารย์ให้นั่งโต๊ะเป็นเลขที่ตั้งแต่ 1-49 และออกไปแสดงผลงานสิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์

ว่าวกระดาษ




อุปกรณ์
  1.  กระดาษขนาด A4 : ถ้าเป็นกระดาษที่ยังไม่ได้ใช้ ก็จะสามารถใช้วาดรูประบายสีเพื่อตกแต่งได้
  2.  โครงว่าว : เนื่องจากเป็นว่าวตัวเล็ก โครงที่ใช้จึงมีขนาดเล็กด้วย อาจทำมาจากไม้เสียบหมูหรือไก่ ที่ใช้แล้ว ก็ได้
  3.  ป่าน หรือ เชือกว่าว
  4.  อุปกรณ์ตกแต่ง : ดินสอสี, สติ๊กเกอร์
  5.  อุปกรณ์อื่นๆ : กรรไกร, คัตเตอร์ เทปกาว


ขั้นตอนการประดิษฐ์
นำกระดาษ A4 มา 1 แผ่น พับครึ่งดังภาพ

พับอีกครั้ง ตามรอยเส้นประ
ขั้นตอนนี้ กะขนาดเองครับ
พับแล้วออกมาแบบนี้ด้านนี้จะเป็นด้านหลังของว่าวครับ
พับอีกด้านหนึ่งไปด้านหลัง
คลี่ส่วนที่พับไปด้านหลังออกมา แล้วใช้เทปกาวปิดตลอดความยาวของแนวพับ (แนวสีส้ม)
พลิกว่าว และระบายสีว่าวด้านหน้าตามใจชอบ
เหลาไม้ไผ่ให้เป็นก้านบางๆ วางทาบบนด้านหลังของว่าว ใช้เทปกาวติดโครงให้เข้ากับว่าว
ถ้าติดโครงก่อน เวลาระบายสีจะนูนขึ้นมา ทำให้ระบายได้ลำบากครับ
ด้านหน้าของว่าว หลังจากระบายสีแล้วส่วนกระดาษที่เป็นสามเหลี่ยมด้านหน้านั้น ดูตอนนี้เหมือนจะเกะกะไปสักหน่อย แต่พอขึ้นไปบนฟ้าแล้ว จะมองไม่เห็นครับ เพราะอยู่ในแนวขนานกับสายตา
กำหนดจุดที่จะเจาะรูเพื่อร้อยเชือกว่าว จุดดังกล่าวจะอยู่บนแผงด้านหน้านี้เอง ห่างจากด้านบนของว่าวลงมาประมาณ 1 ใน 3 ของความสูงของว่าว
เมื่อกำหนดจุดได้แล้ว ใช้เทปกาวปิดทั้งสองด้าน เพื่อเสริมความแข็งแรง จากนั้นใช้ที่เจาะรูกระดาษ เจาะรู ณ จุดที่กำหนดไว้
ตัดกระดาษเป็นชิ้นยาว ต่อกันเป็นหางยาวด้วยเทปกาว ติดหางเข้ากับตัวว่าวร้อยเชือกว่าว ผ่านรูที่เจาะไว้ แล้วผูกยึดให้เรียบร้อย
หาจุดที่ลมดีๆ แค่นี้ว่าวก็แทบจะขึ้นเองแล้ว ...


        สรุปองค์ความรู้ที่ได้รับ( knowledge)

     การประดิษฐ์สื่อวิทยาศาตร์ทุกชิ้นสำคัญในการสอนเด็กปฐมวัยเพราะการประดิษฐ์ชิ้นงานวิทย์ ขึ้นมาเพื่อเป็นการสอนในทางวิทยาศาสตร์ เช่น การเคลื่อนที่ของแรงลม การหักเหของแสง การต้านอากาศ เป็นต้น สื่อทุกชนิดล้วนมีประโยชน์ในการสอนกับเด็ก


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้


    เพื่อนำไปเป็นสื่อการเรียนการสอนของเด็กปฐมวัย การสอด

แทรกความรู้ของวิทยาศาสตร์ให้กับเด็ก ในการเล่นว่าวนั้นเด็กจะเรียน

รู้ถึงการต้านอากาศของปีกว่าวจึงทำให้ว่าวลอยขึ้นได้และรู้ว่าต้องเล่น

ในที่ที่มีลม
   
ประเมินตนเอง

     
     วันนี้ไม่ได้ออกไปนำเสนอผลงานเพราะยังไม่เสร็จ แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียนและร่วมตอบคำถามกับเพื่อนๆได้จดเนื้อหาที่เป็นความรู้ไว้ในสมุด 

ประเมินเพื่อนๆ

  เพื่อนๆน่ารัก แต่งกายเรียบร้อยร่วมกันสทนาและหาคำตอบกันได้เกือบทุกคน ตั้งใจเรียน เพื่อนๆให้โอกาสในการนำผลงานวิทยาศาสตร์มาโชว์

ประเมินอาจารย์ 

   อาจารย์มุ่งมั่นในการสอนเพราะอยากให้นักศึกษาได้ความรู้มากๆ และนำไปปฏิบัติได้ในชีวิตประจำวัน 




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น