วันพฤหัสบดีที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บัทึกอนุทินครั้งที่10

บันทึกอนุทินครั้งที่  10


 บันทึกอนุทิน
  วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

    อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์  จินตนา  สุขสำราญ 
        วัน/เดือน/ปี   21 ตุลาคม   2557  ครั้งที่ 10
     เวลาเข้าสอน  08.00 น.    เวลาเรียน 08.30  น.
           เวลาเลิกเรียน   12.20 น.

กิจกรรมภายในวันนี้

    วันนี้อาจารย์ให้โอกาสคนที่ไม่ได้เสนองานในคาบก่อน ได้ออกไปนำเสนองานวิทยาศาสตร์และสอนการเขียนแผนในวันนี้คือ การทำหน่วยที่จะสอนและมีแนวคิด ประสบการณ์สำคัญ  เทคนิคการจัดกิจกรรม  การบูรณาการทักษะรายวิชา และแผนการจัดประสบการณ์ทั้ง 5 แผน

               แผนของกลุ่มดิฉัน คือ ทุเรียน
     

 



 สรุปองค์ความรู้ที่ได้รับ( knowledge)

     การเขียนแผนจำเป็นอย่ายิ่งในการสอนเด็กทั้ง 5 วัน การตั้งวัตถุประสงค์ควรให้เด็กสามารถแสดงพฤติกรรมออกมาได้และการจัดกิจกรรมควรไม่ยืดเยื้อหรือนานจนเกิดไป ประสบการณ์ก็ควรให้ครบ ทั้ง 4 ด้าน ร่างกาย อารมณ์ สังคม และ สติปัญญา 


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

      เพื่อนำแนวทางการสอนของอาจารย์ไปเป็นวิธีการสอนให้กับเด็ก โดยการเขียนแผนต้องมีวัตถุประสงค์  การวัดผลและประเมินผลอยู่เสมอเพื่อการรับรู้ถึงการแสดงออกทางพฤติกรรมทั้ง4ด้านของเด็ก


   ประเมินตนเอง
     
        วันนี้ออกไปนำเสนอว่าวกระดาษและสาธิตให้เพื่อนๆดูได้ดี แต่งกายเรียบร้อย และฟังอาจารย์สอนการเขียนแผนได้ดี

ประเมินเพื่อนๆ

     เพื่อนๆน่ารัก แต่งกายเรียบร้อยร่วมกันสนทนาและหาคำตอบกันได้เกือบทุกคน ตั้งใจเรียน นั่งกันเป็นกลุ่มในการปรึกษาหารื้อกันในการเขียนแผน

ประเมินอาจารย์ 

     อาจารย์มุ่งมั่นในการสอนเพราะอยากให้นักศึกษาได้ความรู้มากๆ และนำไปปฏิบัติได้ในชีวิตประจำวัน ได้ในการสอนเด็กทั้ง5วัน











วันพฤหัสบดีที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่9

บันทึกอนุทินครั้งที่  9


 บันทึกอนุทิน
  วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

    อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์  จินตนา  สุขสำราญ 
        วัน/เดือน/ปี   14 ตุลาคม   2557  ครั้งที่ 9
     เวลาเข้าสอน  08.00 น.    เวลาเรียน 08.30  น.
           เวลาเลิกเรียน   12.20 น.


กิจกรรมภายในวันนี้

       อาจารย์ให้นั่งโต๊ะเป็นเลขที่ตั้งแต่ 1-49 และออกไปแสดงผลงานสิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์

ว่าวกระดาษ




อุปกรณ์
  1.  กระดาษขนาด A4 : ถ้าเป็นกระดาษที่ยังไม่ได้ใช้ ก็จะสามารถใช้วาดรูประบายสีเพื่อตกแต่งได้
  2.  โครงว่าว : เนื่องจากเป็นว่าวตัวเล็ก โครงที่ใช้จึงมีขนาดเล็กด้วย อาจทำมาจากไม้เสียบหมูหรือไก่ ที่ใช้แล้ว ก็ได้
  3.  ป่าน หรือ เชือกว่าว
  4.  อุปกรณ์ตกแต่ง : ดินสอสี, สติ๊กเกอร์
  5.  อุปกรณ์อื่นๆ : กรรไกร, คัตเตอร์ เทปกาว


ขั้นตอนการประดิษฐ์
นำกระดาษ A4 มา 1 แผ่น พับครึ่งดังภาพ

พับอีกครั้ง ตามรอยเส้นประ
ขั้นตอนนี้ กะขนาดเองครับ
พับแล้วออกมาแบบนี้ด้านนี้จะเป็นด้านหลังของว่าวครับ
พับอีกด้านหนึ่งไปด้านหลัง
คลี่ส่วนที่พับไปด้านหลังออกมา แล้วใช้เทปกาวปิดตลอดความยาวของแนวพับ (แนวสีส้ม)
พลิกว่าว และระบายสีว่าวด้านหน้าตามใจชอบ
เหลาไม้ไผ่ให้เป็นก้านบางๆ วางทาบบนด้านหลังของว่าว ใช้เทปกาวติดโครงให้เข้ากับว่าว
ถ้าติดโครงก่อน เวลาระบายสีจะนูนขึ้นมา ทำให้ระบายได้ลำบากครับ
ด้านหน้าของว่าว หลังจากระบายสีแล้วส่วนกระดาษที่เป็นสามเหลี่ยมด้านหน้านั้น ดูตอนนี้เหมือนจะเกะกะไปสักหน่อย แต่พอขึ้นไปบนฟ้าแล้ว จะมองไม่เห็นครับ เพราะอยู่ในแนวขนานกับสายตา
กำหนดจุดที่จะเจาะรูเพื่อร้อยเชือกว่าว จุดดังกล่าวจะอยู่บนแผงด้านหน้านี้เอง ห่างจากด้านบนของว่าวลงมาประมาณ 1 ใน 3 ของความสูงของว่าว
เมื่อกำหนดจุดได้แล้ว ใช้เทปกาวปิดทั้งสองด้าน เพื่อเสริมความแข็งแรง จากนั้นใช้ที่เจาะรูกระดาษ เจาะรู ณ จุดที่กำหนดไว้
ตัดกระดาษเป็นชิ้นยาว ต่อกันเป็นหางยาวด้วยเทปกาว ติดหางเข้ากับตัวว่าวร้อยเชือกว่าว ผ่านรูที่เจาะไว้ แล้วผูกยึดให้เรียบร้อย
หาจุดที่ลมดีๆ แค่นี้ว่าวก็แทบจะขึ้นเองแล้ว ...


        สรุปองค์ความรู้ที่ได้รับ( knowledge)

     การประดิษฐ์สื่อวิทยาศาตร์ทุกชิ้นสำคัญในการสอนเด็กปฐมวัยเพราะการประดิษฐ์ชิ้นงานวิทย์ ขึ้นมาเพื่อเป็นการสอนในทางวิทยาศาสตร์ เช่น การเคลื่อนที่ของแรงลม การหักเหของแสง การต้านอากาศ เป็นต้น สื่อทุกชนิดล้วนมีประโยชน์ในการสอนกับเด็ก


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้


    เพื่อนำไปเป็นสื่อการเรียนการสอนของเด็กปฐมวัย การสอด

แทรกความรู้ของวิทยาศาสตร์ให้กับเด็ก ในการเล่นว่าวนั้นเด็กจะเรียน

รู้ถึงการต้านอากาศของปีกว่าวจึงทำให้ว่าวลอยขึ้นได้และรู้ว่าต้องเล่น

ในที่ที่มีลม
   
ประเมินตนเอง

     
     วันนี้ไม่ได้ออกไปนำเสนอผลงานเพราะยังไม่เสร็จ แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียนและร่วมตอบคำถามกับเพื่อนๆได้จดเนื้อหาที่เป็นความรู้ไว้ในสมุด 

ประเมินเพื่อนๆ

  เพื่อนๆน่ารัก แต่งกายเรียบร้อยร่วมกันสทนาและหาคำตอบกันได้เกือบทุกคน ตั้งใจเรียน เพื่อนๆให้โอกาสในการนำผลงานวิทยาศาสตร์มาโชว์

ประเมินอาจารย์ 

   อาจารย์มุ่งมั่นในการสอนเพราะอยากให้นักศึกษาได้ความรู้มากๆ และนำไปปฏิบัติได้ในชีวิตประจำวัน 




วันจันทร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 8

บันทึกอนุทินครั้งที่  8

 บันทึกอนุทิน
  วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

    อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์  จินตนา  สุขสำราญ 
        วัน/เดือน/ปี  7 ตุลาคม   2557  ครั้งที่ 8
     เวลาเข้าสอน  08.00 น.    เวลาเรียน 08.30  น.
           เวลาเลิกเรียน   12.20 น.

กิจกรรมภายในวันนี้

                          ระหว่างวันที่ 6 - 12 ตุลาคม 2557 นี้ เป็นช่วงสอบกลางภาค (Mid Taem)จึงไม่มีการเรียนการสอนแต่อย่างใด 









       "ขอให้ทุกๆคนโชคดีในการสอบ"




บันทึกอนุทินครั้งที่7

บันทึกอนุทินครั้งที่  7


 บันทึกอนุทิน
  วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

    อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์  จินตนา  สุขสำราญ 
        วัน/เดือน/ปี  30 กันยายน   2557  ครั้งที่ 7
     เวลาเข้าสอน  08.00 น.    เวลาเรียน 08.30  น.
           เวลาเลิกเรียน   12.20 น.


กิจกรรมภายในวันนี้

  อาจารย์ให้ทำกิจกรรมคือการประดิษฐ์ กังหันกระดาษและประดิษฐ์  ของเล่นจากแกนทิชชูและสอนวิธีการเขียนแผน

การทำกิจกรรม ระดิษฐ์ 

                               กังหันกระดาษ


   

อุปกรณ์
1.กระดาษสีต่างๆ

2.คลิปหนีบ


3.กรรไกร

ขั้นตอนการทำ

1.พับกระดาษครึ่งตรงกลาง
ระหว่างแนวตั้งและเเนวนอน

2.ตักกระดาษทางแนวตั้ง

ตัดถึงจุดตรงกลาง 

3.พับกระดาษด้านที่ยังไม่ตั

ดพับขึ้นมาเล็กน้อย

4.นำคลิปมาหนีปตรงที่พับ


5.พอทำเสร็จก็โยนเล่นโยนขึ้นจากที่สูง


หลังจากที่ประดิษฐ์เสร็จ อาจารย์ก็ให้ออกไปนำเสนอ


กลุ่มที่1 หมุน เพราะการตัด พับได้ลงตัวพอดี


กลุ่มที่2 ไม่หมุนเพราะ การพับ มีพื้นที่น้อย (หมุนเล็กน้อยในตอนที่จะตกลงพื้น)


กลุ่มที่3 ไม่หมุนเลยลงเร็ว เพราะกานพับพื้นที่น้อย ปีกสั้น


กลุ่มที่4  หมุนเพราะ  ตัดให้ยาวขึ้น เปลี่ยนวิธีการหมุน หมุนลงช้าเพราะแรงเหวี่ยงของเรา


การให้เด็กลงมือทำไม่ยาก เพราะไม่มีขั้นตอนที่ยุ่งยาก เสริมความคิดสร้างสรรค์ วาดรูป ตกแต่งผลงาน


     อากาศ (
Weather) เกิดจากการเคลื่อนที่      
    ลม(Wind)คือ อากาศที่เคลื่อนที่ เพราะอากาศกระทบกันทำให้รู้สึกเย็น

    การพิสูจน์ อากาศ คือ การนำเอาลูกโป่งมาเป่า หรือถุงต่างๆเอามาเปาแล้วก็เกิดการพองโต อากาศก็จะมีพื้นที่ในนั้น




 การทำกิจกรรม ระดิษฐ์ 

                         ของเล่นจากแกนทิชชู






 อุปกรณ์
                                              

1.แกนทิชชู

2.เชือก

3.ที่เจาะรู

4.กระดาษสีต่างๆ

5.กาว

6.สี ดินสอ


ขั้นตอน

1.ตัดแกนทิชชูครึ่งกลาง

2.เจาะรูสองรูข้างๆแกนทิชชู

3.สอดเชือกเข้าไปทั้ง2รูแล้วมัด
ให้แน่นสามารถคล้องคอและเล่นได้

4.วาดรูปอะไรก็ได้
ตามใจชอบใส่กระดาษ

5.ตกแต่งรูปภาพที่วาดให้สวยงาม
แล้วนำไปติดตกแต่งที่แกนทิชชู





บทความ (Article)


เพื่อนๆออกไปพูดบทความ

1.สะกิดให้ลูกคิดแบบวิทยาศาสตร์ศึกษาเพิ่มเติม
“2.สอนเด็กอนุบาลด้วยนิทาน สนุกสนานเรียนรู้ได้ทุกวิชา”ตามเด็กปฐมวัยเรียนรู้วิทย์จากไก่และเป็ดศึกษาเพิ่มเติม
3.เทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์ ศึกษาเพิ่มเติม
4.หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย จำเป็นหรือไม่ ?ศึกษาเพิ่มเติม
5.ส่งเสริมกระบวนการคิดสำหรับเด็กศึกษาเพิ่มเติม


    อาจารย์บอกวิธีการเขียนแผนและให้ดูรูปแบบแผน ดูรูปแบบแผนและเเบ่งกลุ่มงานที่จะได้รับผิดชอบในการเขียนแผน

           สรุปองค์ความรู้ที่ได้รับ( knowledge)




การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

       สามารถนำสิ่งที่ประดิษฐ์นี้นำไปใช้ประดิษฐ์ให้เด็กเล่นได้ และให้เด็กประดิษฐ์เองได้เพราะวิธีการทำมันไม่ยุ่งยากเด็กสามารถทำได้ และยังสอดแทรกเนื้อหาวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับเรื่อง แรง อากาศ ให้เด็กเรียนรู้ได้ เป็นการเรียนรู้ประกอบการเล่นจะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่สนุก 

ประเมินตนเอง
     
     แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียนและร่วมตอบคำถามกับเพื่อนๆได้จดเนื้อหาที่เป็นความรู้ไว้ในสมุด ประดิษฐ์ ผลงานได้สำเร็จทันเวลาและเล่นได้

ประเมินเพื่อนๆ

  เพื่อนๆน่ารัก แต่งกายเรียบร้อยร่วมกันสทนาและหาคำตอบกันได้เกือบทุกคน ทุกคนประดิษฐ์ผลงานได้สวยๆกันทั้งนั้น ตั้งใจเรียน

ประเมินอาจารย์ 


   อาจารย์แต่งกายเรียบร้อย อาจารย์ใช้คำถามถามเพื่อให้ทดสอบความรู้นักศึกษาว่ามีมากน้อยแค่ไหน และใช้คำถามชวนในการคิดหาคำตอบ 

สาระเพิ่มเติ่ม


              อากาศมหัศจรรย์
รอบๆตัวเรามีอากาศ อากาศอยู่ได้ทุกที่ ลมคือ อากาศที่เคลื่อนที่ เพราะอากาศกระทบกันทำให้รู้สึกเย็น

การทดลองอากาศมีจริงหรือเปล่า...?
    เติมน้ำผ่านขวดโดยเท่น้ำผ่านกรวยที่อยู่บนปากขวด  ปรากฏว่าน้ำไหลผ่านลงไปได้อย่างสบายๆ
    ที่นี้ลองเอาดินน้ำมันมาพอกปิดปากบริเวณรอบๆกรวย ลองเท่น้ำลงไปปรากฎว่าน้ำไหลผ่านลงไปได้ช้ามากๆ พอลองเอาดินน้ำมันออกน้ำไหลได้ดี
    จากการทดลองนี้น้ำไหลลงไปได้สบายๆนั้นเพราะอากาศจากในขวดจะถูกน้ำเข้าไปแทนที่ทันทีเมื่อเราเท่น้ำลงไปอากาศจะออกไปทางปากขวด ดังนั้น เมื่อเรานำดินน้ำมันมาปิดบริเวณรอบๆกรวย อากาศก็จะไม่สามารถออกมาได้จึงต้องคอยดันน้ำไม่ให้ไหลลงมา
    อากาศไม่มีรูปร่างแต่มีน้ำหนัก เช่น มีตาชั่งแขวน แล้วนำลูกโป่งมาติดปลายตาชั่งข้างละ 1 ใบจากนั้นเราจะปล่อยลมออกจากข้าง1อีกข้างหนึ่งที่ไม่ได้ปล่อยลมจะกดลงน้ำหนักจะอยู่ต่ำ ข้างที่ถูกปล่อยลมจะลอยอยู่ด้านบน 
อากาศร้อน อากาศจะมีน้ำหนักที่เบา พออากาศเบาก็จะลอยสูงขึ้น เช่น การผลิตบอลลูน  โคมลอย
อากาศเย็น อากาศที่เคลื่อนที่เข้ามาแทนอากาศร้อนก็คือลมท่ผ่านไปทำให้เราเย็นสบาย
  ลม    เกิดขึ้นได้ตลอดเวลาขึ้นอยู่กับว่าแต่ละพื้นที่มีความร้อนและเย็นต่างกันแค่ไหนลมสามารถเปลี่ยนทิศทางไปตามวัตถุที่ขว้างทางได้

แรงดันอากาศ คือ แรงที่อากาศกดลงยังพื้นผิวของวัตถุต่างๆการนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน คือ การเจาะรูกระป๋องนมที่ฝั่งตรงข้าม 2 รู การดูดน้ำจากหลอด

การพับจรวด 2 แบบ ต่างกัน แบบที่1 บินไม่ได้ดี  แบบที่2 บินได้ดีเพราะเเรงต้านของอากาศไม่เท่ากันจึงทำให้เครื่องบินไปได้ไกลไม่เท่ากัน

แรงต้านอากาศ   คือ แรงที่อากาศต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุต่างๆ เช่น เวลารถวิ่งก็จะมีลมสวนมาลมก็คือแรงต้านอากาศ  การกระโดดร่มต้านผ้าร่มทำให้เราตกลงมาที่พื้นอย่างช้าๆ