วันเสาร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 15

บันทึกอนุทินครั้งที่  15


          บันทึกอนุทิน
 วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

    อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์  จินตนา  สุขสำราญ 
     วัน/เดือน/ปี   25 พฤศจิกายน  2557  ครั้งที่ 15
     เวลาเข้าสอน  08.00 น.    เวลาเรียน 08.30  น.
           เวลาเลิกเรียน   12.20 น.

กิจกรรมภายในวันนี้


        วันนี้อาจารย์ให้ส่งของเล่นวิทยาศาสตร์และแยกออกเป็นกลุ่ม ๆมี 6 กลุ่ม
         1 กลุ่มแรงโน้มถ่วง 
         2.อากาศ 
         3.พลังของเสียง
         4.การทำมุม          
         5.น้ำ
         6.แสง
การนำเสนอโทรทัศน์ครู

       -ไฟฟ้าและพันธุ์พืช  อ่านเพิ่มเติม
       -การละลายของสาร  อ่านเพิ่มเติม
       -จุดประกายนักวิทยาศาสตร์น้อย  อ่านเพิ่มเติม
       -แรงเสียดทาน  อ่านเพิ่มเติม
      -สอนเด็กอย่างไรให้มีจิตวิทยาศาสตร์ อ่านเพิ่มเติม

การนำเสนอวิจัย
      -กระบวนการส่งเสริมการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยโดยใช้

 กิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ อ่านเพิ่มเติม

      -ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อ

ทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย อ่านเพิ่มเติม

      -การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการเรียนแบบต่อภาพ   อ่านเพิ่มเติม

สื่อของดิฉันคือ ว่าวกระดาษ

                                            

 กิจกรรมต่อมา คือ การทำน้ำหวานไอติม



1.เตรียมอุปกรณ์ในการทำ
       -น้ำหวาน
       -น้ำ
       -เกลือ
       -น้ำแข็ง
       -ยางรัดแกง
       -ถุงพลาสติก
       -กรวย
       -ที่ตัก



2.ผสมน้ำหวานกับน้ำในปริมาณที่พอดี


3.นำกรวยมาใส่ถุง

4.ตักน้ำหวานใส่ถุงในปริมาณครึ่งถุง


5.มัดถุงให้เรียบร้อย


6.นำมาวางไว้ในหม้อ



7.ใส่น้ำแข็งลงไปในหม้อ


8.ใส่เกลือลงไปในปริมาณครึ่งถุง


9.ปิดฝาหม้อและหมุนไป



10.พอสักพักน้ำหวานแข็งได้ที่



 การเปลี่ยนแปลง (change)
    จากของเหลวเป็นของแข็ง
          การที่เราจะทำให้น้ำหวานที่เราใส่ลงไปในถุงได้เราก็ต้องทำให้อุณหภูมิของน้ำที่อยู่ในถุงอยู่ที่จุดเยือกแข็งหรือต่ำกว่า ซึ่งในที่นี้ก็คือ 0 องศาเซลเซียส ดังนั้นน้ำที่อยู่ในหม้อก็ต้องเย็นพอที่จะทำให้น้ำในถุงแข็งได้ เพราะฉะนั้นน้ำที่อยู่ในหม้อก็ต้องมีอุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียสหรือต่ำกว่าเช่นกัน    การที่เราใส่เกลือเข้าไปทำให้น้ำแข็งในถังด้านล่างมีอุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียสได้โดยที่ไม่กลายเป็นน้ำแข็ง และนั่นก็เพียงพอที่จะทำให้เราสามารถที่จะเขย่าถังเพื่อส่งความเย็นเข้าไปสู่น้ำที่อยู่ให้หลอดให้แข็งกลายเป็นไอติมได้นั่นเอง

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
      การจัดกิจกรรมที่สามารถทำให้เด็กได้มีส่วนร่วมกับครูและเป็นสิ่งที่ไม่อยาก จนเกินไปในการทดลองทำ ควรเลือกสิ่งที่เด็กสนใจ  หาง่าย ประหยัด และทำได้ง่าย ในการทำกิจกรรมนี้เป็นการจัดที่สร้างเสริมการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เช่น การสังเกต  การชิม ดมกลิ่น สัมผัส  การฟังเสียง

ประเมินตนเอง 
       แต่งกายเรียบร้อย  ร่วมกิจกรรมกับเพื่อนได้ดีและให้ความร่วมมือได้ดี สนใจในกิจกรรมนี้มาก ประเมินเพื่อนๆ
       เพื่อน ให้ความร่วมมือกันดีและร่วมกันทำ ช่วยกันทำน้ำหวานไอติมภายในห้องได้เป็นอย่างดีทุกคนสนใจว่า น้ำหวานที่เป็นของเหลวจะเเข็งหรือไม่แข็ง
ประเมินอาจารย์
       อาจารย์ มีความมุ่งมั่นในการสอน โดยหากิจกรรมมาให้นักศึกษาไม่ทำน่าเบื่อเพราะมีกิจกรรมทำกันภายในห้องทำและ ให้คำแนะนำดีๆในการเรียนการสอน อาจารย์ทุ่มเทในการสอนโดยเตรียมอุปกรณ์มาให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติเป็นอย่างดี